Creative Economy เศรษฐกิจสร้างสรรค์ฉบับอัปเดต ถึงปรากฏการณ์มาสคอต/ไอดอล


ปัจจุบันโลกออนไลน์ไทยกับอุปสรรคที่พ่อค้าแม่ขายต้องพบนั้น

ธรรมชาติของ long tail X multi-sided market คือไม่แคร์การล้มหายตายจากของคนที่เข้ามาครับ ก็เพราะจะสู้กันเอง และเพราะจะมีคนใหม่เข้ามาแทนที่เสมอ, มันเป็นโลกที่ชนะของ "กิจการแพลตฟอร์ม (เว็บมาร์เก็ตเพลส)" คือตัวเจ้าของตลาดและระบบที่เขาพัฒนาขึ้นมา เท่านั้น นั่นเอง เพราะแพลตฟอร์มนั้นขายงานบริการระบบ ถ้าถูกโจมตีจุดนี้ได้เท่านั้นจึงจะจบครับ เขาไม่ได้ขายสินค้า

พูดง่าย ๆ คืออาชีพเจ้าของตลาดนั่นแหละ ที่ชนะ เพราะพ่อค้าแม่ขายจะมีเข้ามาแทนที่กันเองตลอดเวลาให้เอง ทุกรายได้รับการปฏิสัมพันธ์จากระบบรู้สึกเหมือนเขาช่วยส่งเสริมการขาย แต่มันไม่ได้ผลเสมอไปและถูกออกแบบมาให้โทษ "สายป่านส่วนบุคคล" กันไปเองน่ะครับ

การสร้างตลาดออนไลน์ขึ้นมา คือเขาชนะเรื่อง "ทำเลที่ตั้ง" ของทุกร้านกายภาพ ทั้งโลก คือเขาไม่ใช่คู่ต่อสู้เราเลยในเรื่องทำเล ลอยตัวสนิท ระบบนี้เขาไม่ได้มองพ่อค้าแม่ขายว่าเป็น competitor (คู่แข่ง) กับเขาเลย ก็เพราะไม่ได้ทำในธุรกิจเดียวกันคือแพลตฟอร์ม ดังนั้นคู่แข่งตัวจริงของเขาคือพวกธุรกิจบริการแพลตฟอร์มด้วยกัน


ทางออก/ทางรอด เมื่อสำรวจปรากฏการณ์ในต่างประเทศ

ทางออกคือการแข่งกันเรื่องแบรนด์อย่างเดียวครับ การทำ branding และการตลาดให้ตัวร้านค้าของเราเอง คือทำกิจการโดยมุ่งสร้างคาแรคเตอร์ให้กับ "เครื่องหมายการค้า" (ต้องหันมาสร้างเครื่องหมายการค้าแล้วทำการตลาดให้มัน) ตัวอย่างพื้นฐานเช่น ทำสติ๊กเกอร์ติดไปกับกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ส่งให้ลูกค้า มีสีสันหรือภาพลักษณ์ของเราเอง จะสร้างความรู้สึกของการสื่อสารเหมือนสินค้าส่งเสียงพูดคุยกับลูกค้า ถ้าเราศึกษาเรียนรู้จากวัฒนธรรมการค้าในญี่ปุ่นก็คือเขาเน้นว่าทำมาสคอตหรือตัวละครเฉพาะของแบรนด์ขึ้นมาเลย ในญี่ปุ่นจึงมีการตลาดที่ใช้ตัวการ์ตูนตัวมาสคอตอะไรทำนองนี้เยอะแยะมากคือเห็นอยู่ทั่วไปหมด (ของบ้านเราดูปรากฏการณ์ "หมีเนย" ได้ครับ) เรื่องนี้เป็นพื้นฐานที่มาของวัฒนธรรม/ปรากฏการณ์ขายคาแรคเตอร์แบบ "อินฟลูเอนเซอร์" เลย (ในเกาหลีใต้ แบรนด์สินค้าสื่อสารกับลูกค้าผ่าน ตลาดของ "นักร้องไอดอล" ที่ต้นสังกัดตีโจทย์การฝึกพัฒนาบุคลิกภาพบางอย่าง มากกว่าเรื่องหน้าตาอย่างที่คนไทยไปตั้งข้อสังเกต เพราะบุคลิกภาพและคาแรคเตอร์การแสดงออก "ที่เป็นมิตร" สื่อสารกับคนช่วงกลุ่มอายุที่กว้างได้ดีแม้จะเห็นเพียงภาพนิ่งต่างหากที่จะช่วยในการส่งเสริมการขาย)

รายได้ไม่ใช่ว่ามาจากผลิตภัณฑ์หลักของกิจการด้วยซ้ำไป

ตัวอย่างประกอบความเข้าใจพื้นฐานของ 2 บริบทที่ผสานเข้าด้วยกันคือ "งานจับมือ/แจกลายเซ็นต์ และการขายภาพถ่าย/ขายสิทธิ์เข้าไปถ่ายภาพ" ⬅️ คืออย่างหลังนี้ ถ้านึกดูดี ๆ ไม่ใช่สินค้าหลักของร้านไหนด้วยซ้ำ แต่ถ้าเป็นกิจกรรมที่มีร้านค้าหรือแบรนด์เข้าไปสปอนเซอร์ให้จัด สามารถเป็นสปอนเซอร์แบบแบ่งรายได้จากการขายภาพหรือสิทธิ์การถ่ายภาพได้ครับ (แน่นอนว่า ก็ไม่ใช่สินค้าหรือบริการหลักของกิจการเราอีกเหมือนกัน แต่ก็เป็นแนวทางหนึ่งของรายได้, ปรากฏการณ์พื้นฐานคือการจ้างนักร้องแม้ไม่ใช่ไอดอล ยืนร้องเพลงหรือทำการแสดงเรียกลูกค้าหน้าร้าน ///ซึ่งถ้าเป็นนักแสดงเปิดหมวกที่มีบัตรประจำตัว ร้านไม่ได้ต้องจ้างด้วยซ้ำ แค่อนุญาตให้เขาใช้สถานที่หน้าร้าน เพราะรายได้เขาจะมาจากคนที่หยุดดูการแสดงและให้เงินจากความพึงพอใจ ร้านอาจให้อนุญาตโดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่าให้ช่วยพูดโปรโมทสินค้าหรือกิจกรรมโปรโมชันของร้านในตอนนั้นเป็นระยะก็พอ/// อันนี้คนละแบบกับนักดนตรีรับจ้างอย่างนักร้องไอดอล

กิจกรรมทำนองนี้ พอเข้าสู่ยุคการถ่ายวีดีโอ ก็เป็นบริบทหนึ่งที่เรียกว่า "คอนเทนต์" นั่นเอง (บางร้าน/แบรนด์อาจทำละครสั้นไปเลย)

ในองค์กรธุรกิจก็มีไอดอลของตัวเองไว้สื่อสารภายในได้นะ ไม่ใช่แต่สโมสรและสนามการแข่งขันกีฬาอาขีพ

คือถ้ามองปรากฏการณ์ในสากล ก็คือมีอะไรให้ทำเยอะอยู่ครับ ไม่ตรงกับสินค้า/บริการหลัก แต่เป็นรายได้, ดังนั้นอย่างเกาหลีใต้เขามองว่าไอดอลสร้างชาติ ก็คือไม่ได้มาจากการขายซีดีหรือบัตรคอนเสิร์ตแต่อย่างเดียวครับ แต่เพราะมาจากการผูกมิตรกับประชาขนในฐานะผู้สื่อสารแบรนด์ซะมากกว่า (เพราะไอดอลบางรายหรือบางวง ใช่ว่าสินค้าหลักคือเพลงเขาจะดีมากมายอะไร ยอดขายหรืออันดับชาร์ตอาจไม่สูงด้วยซ้ำ แต่คาแรคเตอร์เป็นที่สนใจของแบรนด์ต่าง ๆ จนไปมีรายได้จากการเป็นพรีเซ็นเตอร์หรือเป็นทูตแทน ระบบจึงพึ่งพากันทั้งสังคม จึงเป็นที่มาของคำพูดลักษณะนั้นครับ เพราะหน่วยงานรัฐเขาก็พึ่งไอดอลมาช่วยสื่อสารองค์กรก็มากอยู่ บางธุรกิจก็ตั้งชมรมดนตรีและสร้างศิลปินเองใช้ทั้งภายในภายนอกองค์กร ก็มี อันนี้โตจากวัฒนธรรมการมีแผนกสื่อสาร/ศิลปกรรมภายในบริษัทไง เช่นที่บางกืจการมีหนังสือพิมพ์หรือรายการทีวีภายในไว้สื่อสารกับพนักงาน ชมรมดนตรีก็ทำสื่อสารภายในองค์กรได้ไม่ได้แปลกอะไร มันคือสภาพที่เขื่อมโยงกับศิลปินในท้องถิ่นดังที่ทำกันทุกประเทศชั้นนำครับ ในไทยเพียงแต่ยังไม่เคยเห็นการทำบ้างในหลายเรื่องเท่านั้นเอง)

Comments

Popular posts from this blog

การตรวจสอบอีเมลปลอมที่เป็น PayPal หรืออื่น ๆ

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ