ปัญหาลิขสิทธิ์ตอนที่ 1: ผู้สร้างสรรค์คือใครแน่?

ผู้ว่าจ้างมีศักดิ์เป็นผู้สร้างสรรค์ (ในกรณีที่เป็นเจ้าของความคิดเอง)

  • เป็นเจ้าของความคิดริเริ่มก่อการ ..คิดแล้วจึงว่าจ้างศิลปินผู้มีทักษะสร้างสรรค์ (ศิลปินไม่ใช่เจ้าของความคิดริเริ่มนี้)
  • ศิลปินสร้างงานตามที่ได้รับจ้างด้วย -ทักษะวิชาชีพ- ที่ตนมี. เสร็จแล้วส่งมอบให้ผู้ว่าจ้าง
  • ผู้ว่าจ้างได้ผลของงานตามที่ได้ว่าจ้างไป จึงเสร็จสิ้นกระบวนการ

ในขั้นตอนการเผยแพร่ เราจึงจะเห็นได้ทั่วไปว่า.. มีการระบุ -Copyright ด้วยชื่อกิจการ- ตัวอย่างเช่นบนหน้าเว็บไซต์ของบริษัทใหญ่ ๆ ก็จะมีเครื่องหมาย ©  และชื่อบริษัท เช่น © 2012 PEPSI CO. (ใช้เป็นตัวอย่างเท่านั้น จากเว็บไซต์ www.pepsi.com)       ไม่ต้องระบุ ©  เป็นชื่อศิลปินแต่อย่างใด ..แต่สามารถกล่าวถึงรายชื่อศิลปินผู้สร้างสรรค์ไว้ได้หากต้องการ ..ซึ่งก็คือ "เครดิต" (credits) ..เช่นเดียวกับที่เราพบในตอนท้ายของการชมภาพยนตร์ หรือในปก CD เพลงนั่นเอง


เรื่องนี้ถ้าว่ากันตามเนื้อหาด้านบนแล้ว ก็ดูราบเรียบดี ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรครับ แต่ก็เป็นไปแล้ว ที่มีคนตั้งข้อถกเถียงกันมากมายในหลายแวดวง.       ซึ่งที่สุดแล้วตัวอย่างที่เราเห็นในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่คลุกคลีกับงานด้านนี้มากที่สุดนั้น ศิลปินต้องกำหนดให้ตัวเองเป็น "ผู้ประกอบการ" (entrepreneur) ขึ้นมาก่อน เพื่อให้ได้รับการกล่าวถึงทัดเทียมกับผู้ที่ว่าจ้าง.

แต่ก็เหมือนเดิมครับ คือเมื่อเป็นกรณีรับจ้างทั่วไป ผู้ว่าจ้างก็มีสิทธิ์ที่จะไม่เอ่ยชื่อใครอีกเลยเต็มที่ ..จะได้รับการเอ่ยนามเต็มตัวก็คือกรณี -ร่วมทุนกันสร้าง- นั่นเอง คือเป็นหุ้นส่วนไปด้วยกัน เช่นการสร้างภาพยนตร์ฮอลลีวูด

เราก็เลยจะเห็นว่าศิลปินในส่วนงานต่าง ๆ หรือกระทั่งตัวนักแสดงนั้น ในแง่ความเป็นมืออาชีพเต็มตัว (professional) ก็จะมีการตั้งบริษัทของตัวเองขึ้นมา อย่างน้อยก็เพื่อเป็น management สำหรับตัวเอง. ซึ่งโดยปรกติแล้วจะใช้ "ชื่อตัวเอง" (ชื่อทางการแสดง) เป็นตัวสินค้าหรือแบรนด์ ในการรับจ้างหรือเข้าร่วมงานต่าง ๆ ครับ เช่น Tom Cruise เป็นต้น

ในแวดวงดนตรีเองก็เช่นกันครับ ศิลปินอย่าง Madonna (นี่ก็ไม่ใช่ชื่อจริง) ก็จะมี Maverick Record ของตัวเองไว้ผลิตและรับจ้างผลิต. โดยที่ผู้จัดจำหน่ายออกสู่ตลาดก็จะเป็น Warner Bros. Records สำหรับภายในอเมริกา ..ส่วนภายนอกอเมริกาก็จะเป็น WEA International Inc.     วอร์เนอร์ไม่ได้เป็นผู้ถือหรือเจ้า้ของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด (ถ้าไม่ใช่งานจ้าง)
และมองไปภายใน Maverick Records เอง ..Madonna ก็ไม่ได้แต่งเพลงเองทั้งหมดครับ มีการ "จ้างนักแต่งเพลง" เหมือนกัน ซึ่งเพลงที่ได้มาก็แน่นอนว่าลิขสิทธิ์เป็นของ Madonna ..ภายใต้นามของ Maverick Records.


เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงมีกลไกสำคัญอยู่ที่ว่า เราพูดถึงตัวศิลปินผู้มีทักษะสร้างสรรค์ในฐานะใด? ระหว่าง..

  • ผู้ประกอบการที่ผลิตเอง (ลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง)
  • ผู้ประกอบการที่รับจ้างทำของ (ลิขสิทธิ์เป็นของคนอื่น) (การได้รับการกล่าวในเครดิตหรือไม่นั้น ขึ้นกับเงื่อนไขที่ตกลงกันครับ ไม่ได้มีข้อกำหนดที่ชัดเจนในทางกฎหมาย) (งานวรรณกรรมจำเป็นต้องระบุตัวผู้ประพันธ์ครับในต่างประเทศ ในบ้านเราข้อปฏิบัตินี้เป็นการเอาอย่างที่ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควรครับในหลายสาขา เพราะในต่างประเทศชื่อผู้ประพันธ์มักอยู่ในรูปกิจการอยู่ก่อนแล้วทั้งสิ้นครับ)

ซึ่งการเป็นผู้รับจ้างทำของนั้น ไม่ได้เกี่ยวกับว่าตัวกิจการจะอยู่ในรูปบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และได้จดทะเบียนจัดตั้งกิจการเอาไว้หรือไม่. เพราะก็ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือกระทั่งกรรมสิทธิ์ ..ทั้งคู่ครับ. (ย้ำอีกทีว่า -การเอ่ยชื่อหรือให้เครดิตนั้นเป็นเรื่องของข้อตกลงในเอกสารสัญญา- ไม่ใช่กติกากำหนดทางกฎหมายชัดเจนนัก) (ศิลปินผู้สร้างสรรค์สามารถออกแบบข้อตกลงของตัวเองแล้วเสนอได้เต็มที่ครับ ส่วนผู้ว่าจ้างจะรับหรือจะจ้างหรือไม่นั้น.. ก็กะเกณฑ์กันไม่ได้หรอกครับ)

ถ้าคุณอยากเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างน้อยให้ตั้งตัวเองขึ้นมาเป็นกิจการเสียก่อน (ถือเป็นโอกาสทางกฎหมายในการสร้างแบรนด์หรือนามแฝงนะครับ ..เพื่อสร้างความดึงดูดทางมูลค่าให้ตัวเองมากกว่าชื่อ+นามสกุลจริง) ก่อนที่จะเสนอทำงานให้ตัวเองหรือใคร.       Concept หรือแนวคิดแบบนี้ดูจะใหม่กับสังคมไทย แต่ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นกันอยู่ในอเมริกาครับ       และที่ญี่ปุ่นเอง นักเขียนการ์ตูนก็ทำแบบเดียวกันนี้ครับ รวมทั้งในประเทศชั้นนำอื่น ๆ (ด้านทรัพย์สินทางปัญญา)

[ทั้งหมดไม่ใช่กรณีลูกจ้างประจำนะครับ. สำหรับการเป็นลูกจ้างประจำคุณจะตั้งนามแฝงขึ้นมาเป็นแบรนด์ก็ได้ แต่ไม่มีผลทางกฎหมายนักครับ ..เพราะกรณีที่มีการฟ้องร้องในชั้นศาล มักลงท้ายด้วยการต้องเปลี่ยนไปใช้นามแฝงใหม่ครับ]

ในประเทศไทยก็ทำได้ครับ (ผู้เขียนเองก็ทำ)
..แค่ต้องสร้างความคุ้นชินใหม่ ๆ ..วิถีชีวิตแบบใหม่ ๆ แล้วถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกันเ่ท่านั้นเอง เช่นที่ผมเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมาไงละครับ :)


.......

Comments

  1. ยาวหน่อย แต่จริงจังครับ ..รับรองว่าคุ้มค่าที่จะอ่านครับ :)

    ReplyDelete

Post a Comment

การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)

Popular posts from this blog

สมาธิตื้น สมาธิลึก

รีวิว เปรียบเทียบระหว่าง SEIKAI ART MARKER กับ COPIC Sketch [review and comparison]

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ