Capitalism ทุนนิยมกับสังคมไทย

ประเทศไทยนั้นมีโครงสร้างทางเศรษฐศาสตร์แบบทุนนิยมอย่างชัดเจนก็จริง. แต่ดูเหมือนว่ายังสวนทางกับความคิด-ความเชื่อของผู้คนในบางอย่าง โดยเฉพาะเรื่องค่านิยมที่กลายมาเป็นเหมือนประเพณี.

ทุนนิยม ..สำหรับสังคมอเมริกันและประเทศชั้นนำแล้ว โดยทั่วไปสามารถกล่าวได้ว่า การทำงานสำคัญกว่าการเรียน. เนื่องจากเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้วว่า ตำรานั้นมาจากสาขาอาชีพต่าง ๆ หรือมาจากงานต่าง ๆ ทั้งสิ้น. อีกทั้งการทำงานนั้น โดยธรรมชาติแล้วเป็นการเรียนรู้จากของจริง ไม่ใช่เรียนรู้จากแบบจำลองหรือภาพสมมติในตำหรับตำรา. สังคมอเมริกันจึงมีที่ว่างให้กับคนแทบทุกวัยให้ได้มีงานทำ ทั้งงานชั่วครั้งชั่วคราว และงานประจำ. เมื่อคนมีเงินแล้ว มีที่อยู่อาศัย มีอาหารให้ท้องได้อิ่ม จึงค่อยยกการศึกษาขึ้นมาให้ความสำคัญ.

จะต่างกับสังคมชาวเอเชียส่วนใหญ่ และสังคมไทย. ที่มักมีความคิดที่ว่า .."ถ้าไม่เรียนแล้วจะทำอะไรเป็น..". ทำให้ปรากฏซึ่งภาพของการที่ครอบครัวหรือพ่อแม่ ต้องเป็นฝ่ายนำเงินที่เก็บสะสมมาทั้งชีวิต ใช้จ่ายไปกับการส่งลูกเข้าโรงเรียน/สถาบันการศึกษา. ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาจส่งเสียกันถึงระดับมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว. นั่นหมายถึงว่าเด็กคนหนึ่ง ..อาจไม่รู้จักการหารายได้เลย ไปจนบรรลุนิติภาวะ หรือกว่านั้น. ทำให้มีนักเรียนเต็มไปหมด แต่ไม่มีคนทำงาน.



เรื่องน่าคิดคือ ..เรามักพูดยกตัวอย่างถึงคนรุ่น "บุกเบิก" (ในสังคมไทยมักยก "เจ้าัสัว" หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่ทำธุรกิจจนร่ำรวย) ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างนั้นอย่างนี้. โดยที่ไม่เอะใจกันว่า คนรุ่นบุกเบิกนั้น ที่สร้างสิ่งยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ ไม่ได้เกี่ยวกับการศึกษาเท่าไรเลย ..ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการไม่มีเงินหรือทรัพย์สมบัติใด ๆ ..และเรียนรู้กระทั่งเชี่ยวชาญจากการทำงานจริง อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยแทบทั้งสิ้น.

คนอเมริกันก็คล้ายคนจีน ในแง่ที่เชื่อในการเริ่มต้นจากศูนย์ ..เชื่อว่าคนเราทำสิ่งยิ่งใหญ่ได้ ..เชื่อว่าการทำงานคือทุกอย่าง. ที่สำคัญคือ หากท้องไม่อิ่ม (ไม่มีงาน ไม่มีเงิน) จะยังไม่คิดถึงเรื่องอื่น ..เพราะถือว่าไร้สาระ. ซึ่งถ้าเรามองกันชัด ๆ แบบที่ไม่ได้เอาแต่จำ ๆ คำที่คนมักพูดถึงทุนนิยม ในแง่มุมร้าย ๆ มา. เราจะพบว่านี่คือสาระของการใช้ชีวิตในอารยธรรมมนุษย์มาโดยตลอด. ซึ่งในยุคก่อนทุนนิยมที่คนยังทำเกษตรกรรมเลี้ยงครัวเรือนกันเป็นหลักนั้น. ก็ยังเป็นนิยามเดียวกัน ..คือต้องออกไปทำงานในไร่ ในนา ในสวน. เพื่อให้พืชนั้นออกผลและเป็นอาหารให้ท้องอิ่ม. เพียงแต่ยุคนี้คนต้องออกไปหาเงิน แทนที่จะทำกสิกรรมเท่านั้นเอง.

สังคมไทยดูจะเดินในทิศทางตรงกันข้าม
คือ มองกัน (มีค่านิยม) ว่า.. "การเรียน สำคัญกว่าการทำงาน" ..และเป็นทุกอย่างของชีวิต.

  • ใช้เงินที่ตัวเองไม่มี (เงินกู้เพื่อการศึกษา) เพื่อให้ได้รับการศึกษา.
  • กว่าจะมีรายได้ ก็หลังบรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นส่วนใหญ่.
  • แรงงานจึงอยู่ในช่วงอายุ 20+ ..ไปจนถึง 55 หรือ 60 ปี และยังมีปัญหาการว่างงานเสมอ.
  • ขาดวิสัยทัศน์เศรษฐศาสตร์ระดับ Localized. ทำให้บริหารโครงสร้างอาชีพที่จำเป็นต่อจำนวนประชากร, สภาพแวดล้อม, ประเพณีท้องถิ่น ไม่ได้. แทบทุกพื้นที่มีปัญหาลักษณะนี้ ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงนโยบายของรัฐบาล.
  • ฯลฯ
ถ้าเปลี่ยนค่านิยมมาให้ความสำคัญที่การทำงานได้ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ (กระทั่งท้องถิ่นเล็ก ๆ) ก็จะกระเตื้องขึ้นเอง อย่างน้อยก็เพราะไม่ต้องมีการต้องชะลออะไร เพื่อรอให้คนรุ่นหนึ่งต้องจบการศึกษาตามช่วงชั้นก่อน. ภาคเศรษฐกิจระดับ Local สามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง.

เมื่อผู้คนอิ่มท้อง กิจกรรมอื่น ๆ ก็จะได้รับการสนับสนุนเอง.



.......

Comments

  1. จะมีบทความเรื่องทุนนิยมอีกแน่นอนครับ :)

    ReplyDelete
    Replies
    1. หนักบ้างเบาบ้าง ติดตามกันต่อไปนะครับ :)

      Delete

Post a Comment

การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)

Popular posts from this blog

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ