ความขยัน..คืออะไร? และอะไรเป็นกระบวนการของ Intellectual and Creativity?

[บทความนี้ยกมาจากที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ที่ ความขยัน..คืออะไร? | HomeschoolNetwork.Org:
เนื่องจากภายในเนื้อหาได้มีส่วนที่ผู้เขียนได้ใหทฤษฎีเกี่ยวกับการทำงานของจิตและความคิด ในนิยามของ Intellectual และ Intuition เอาไว้ด้วย ซึ่งเกี่ยวพันกับกระบวนการของ Creativity.]


"ความขยัน" หรือความเพียรในตัวบุคคลนั้น (diligence) เป็นรากฐาน (basic) ของการแสดงออกถึงการ "ใช้สติปัญญา" (intellectual ปัญญาในบริบทที่มีการเสาะหาเหตุผล). คำในภ.อังกฤษอีกคำหนึ่งซึ่งแสดงถึงความขยันในระดับสูงสุด คือ "industrious" ซึ่งหมายถึงความขยันขั้นอุดม (advanced) หรือระดับของ "ความอุตสาหะ" ..และเป็นรากของคำว่า "industry" ที่ถูกจดจำความหมายสำเร็จรูปกันอยู่ในสังคมไทยว่า "อุตสาหกรรม". (ทั้ง ๆ ที่มีรากฐานมาจากความขยันหมั่นเพียร แต่ก็ถูกเข้าใจสำเร็จรูปไปว่าไม่ได้ใช้กับมนุษย์ในที่สุด ..แ้ม้ว่าโดยความเป็นจริงแล้ว อุตสาหการ, อุตสาหกรรม จะมีประเภทที่ใช้ทักษะฝีมือมนุษย์ล้วน ๆ รวมอยู่ด้วย แต่ดูเหมือนสังคมไทยปัจจุบันนี้เลือกจะเข้าใจคำนี้ไปโดยปราศจากมิติของมนุษย์ ซึ่งนี่สะท้อนไปถึงมิติทางมานุษยวิทยา, สังคมวิทยา อย่างมีนัยยะสำคัญ.)
ไม่ว่าการเรียนจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ตาม. สาระของการมอบซึ่งสถานะความเป็น "นักเรียน, นักศึกษา" ให้ตกแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น (โดยไม่เจาะจงว่าอยู่ในวัยใด) คือการที่ต้องสังเกตถึงคุณสมบัติที่เรียกว่า "ความขยัน" ในตัวบุคคลนั้นให้เจอเสียก่อน. แบบทดสอบ (ถ้าจะใช้) เพื่อการค้นหาสิ่งนี้จึงไม่ควรมุ่งไปที่วิชาการก่อน แต่ควรออกแบบให้พิสูจน์ทราบถึง -ความสามารถในการผลักดันกิจกรรมไปสู่นิยามคำว่า "จบ, สิ้นสุด"- ในเชิงเวลา. เพราะจะช่วยให้ทั้งผู้ทดสอบและผู้รับการทดสอบนั้น เข้าถึงสถานการณ์เชิงประจักษ์ไปพร้อมกัน ว่า "ความขยัน" นั้นมีอยู่หรือไม่? ..ซึ่งตัวแปรสำคัญที่จะคัดกรองคุณสมบัติเชิงรูปธรรมนี้ออกมา คืออีกนิยามหนึ่งที่เรียกกันว่า "ความอดทน" ซึ่งในภ.อังกฤษมีอยู่หลายระดับเช่นกัน คือ patience (คำนี้มักถูกอ้างอิงโดยพื้นฐานในด้านการพิสูจน์เกี่ยวกับ "สมาธิ"), endurance, toughness, tolarance, hardiness.

คุณสมบัติความขยันในตัวบุคคลนี้ สำคัญกว่าการเร่งพิสูจน์ทางวิชาการเสียอีก. เพราะในส่วนของตำราเรียนนั้น การที่จะสามารถทำให้ผู้อ่าน/ผู้ศึกษา สามารถเกิดความเข้าใจได้ง่ายมากน้อยเพียงใดนั้น (ศักยภาพของตำรา) จะอยู่ที่ความเป็น "INTUITIVE DESIGNED" ของทั้งเนื้อหาและรูปแบบโดยรวมของตัวตำราเล่มนั้น ๆ. (การออกแบบให้กระตุ้นคุณสมบัติ "การหยั่งรู้" ในตัวผู้รับสาส์น. เป็นกิจกรรมที่วัตถุก่อปฏิสัมพันธ์ต่อจิตทางนามธรรม. โดยทั่วไปยังคงอธิบายไว้ในทิศทางของความรู้สึก หรือ sense ..เนื่องจากอ้างอิงกับระบบประสาทสัมผัสภายนอกและระบบประสาทเชิงการประมวลผลของสมองภายใน.) ตำราที่มีคุณสมับัตินี้ในระดับเนื้อหานั้น สามารถทำให้ผู้อ่าน/ผู้ศึกษา เกิดกิจกรรมทางสมองแบบ "หยั่งรู้" (intuition) ..ซึ่งถือเป็น -ทักษะเชิงคุณสมบัติพัฒนาการขั้นดำเนินต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาการมีชีวิต-. เป็นรากฐานของ intellectual และ creativity (ความคิดเชิงทักษะการสร้างสรรค์)

[ซึ่งกล่าวเป็นเชิงทฤษฎีไว้ได้ว่า intuition นำไปสู่ understood แบบนิรนัย (เหตุผลเชิงหยั่ง เป็นนามธรรมก่อนสรุป, deductive reasoning) กลายเป็น intellectual ตรรกะเชิงประสบการณ์สะสมในสมองซีกซ้าย. โดยมีสมองซีกขวาที่เป็นฐานของ intuition หยั่งและพบเหตุผลและเรียงลำดับเชิงปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ในการยอมรับว่าเป็นจริง (เป็น understood อีกชั้นหนึ่ง นำไปสู่ intellectual อีกชั้นหนึ่ง, เริ่มเป็นอุปนัย เหตุผลเิชิงรูปธรรมหรือกำหนดคำเพื่อสรุป)

..ซึ่งเมื่อจิตเกิดการยอมรับว่าเป็นจริงแล้ว จะก่อฐานของ creativity ให้ปรากฏขึ้นเป็นคุณสมบัติ. และเมื่อได้ปฏิบัติซ้ำในเรื่องเดียวกันสม่ำเสมอ (คอยกระตุ้นให้ซักค้านต่อสามัญสำนึกซึ่งกระเพื่อมไปถึงสำนึกระดับต่าง ๆ ให้เรียนรู้ความจริงนั้นใหม่) ก็จะเกิดความเชี่ยวชาญ และส่งเสริมให้ creativity นั้นแบ่งออกจากคุณสมบัตินามธรรม สู่การเป็น "ทักษะปฏิบัติ" (skill) ภายนอก. ซึ่งกระบวนการนี้กล่าวได้ว่าเป็น engine ที่สำคัญ เนื่องจากนำไปสู่ "ความรู้จริง" (ปัญญา, INTUITIVE INTELLECTUAL) ซึ่งบุคคลซักค้านตัวเองได้ อีกทั้งยังเป็นคุณสมบัติที่ลอกเลียนกันไม่ได้ ..โดยไม่ต้องพึ่งพา "ความรู้จำ" (สัญญา) อันเป็นบันทึกความทรงจำทั่วไป (ordinary memorandum) ที่มีนัยยะความเสื่อมเชิงเวลา เนื่องจากต้องอ้างอิงกับความเสื่อมสลายทางกายภาพของเนื้อสมองเป็นสำคัญ และส่งต่อเป็นข้อมูลภายนอกสู่บุคคลอื่นได้.

ซึ่งโดยทั่วไปมนุษย์ปัจจุบันใช้ engine นี้เป็นพื้นฐานในการสื่อสารด้วยภาษา (พูด) หรือ "การสนทนา" นั่นเอง. เช่น การที่เด็กทารกเริ่มเรียนรู้ภาษาจากพ่อแม่ และเติบโตมาด้วยทักษะการสนทนาอย่างสมบูรณ์โดยธรรมชาติ. (สามารถต่อบทสนทนาได้ หรือพัฒนาขึ้นไปอีกคือแตกบทสนทนาไปสู่เนื้อหาอื่นโดยที่ยังเชื่อมโยงกันได้ ..ทฤษฎีี่ผู้เขียนสรุปเบื้องต้นนี้ สามารถอธิบายได้ว่ามนุษยชาติทรงปัญญามาได้อย่างไร..โดยไม่มีหนังสือ และในยุคก่อนการจดบันทึก)]

"ความขยัน" จึงเป็นรากที่สำคัญของมนุษย์ และเป็นคุณสมบัติที่เชื่อกันมาหลายพันปีว่าพัฒนาเป็น "ทักษะ" ในตัวบุคคลที่ยังไม่มีมันได้. เพราะ "ความเกียจคร้าน" (laziness, idleness) นั้น มีเนื้อแท้ที่เป็นปฏิทรรศน์ (paradox) หรือทวิภาวะ (duality) ของความขยันนั่นเอง. กล่าวคือ -ขยันที่จะปฏิเสธ/ปฏิบัติไปในทิศทางอื่นที่สิ่งแวดล้อมยื่นข้อเสนอมาถึง- ..ซึ่งบุคคลนั้นสามารถ และมีศักยภาพที่จะพัฒนาความขยันมุมกลับนั้นขึ้นมาได้ด้วยตัวเขาเองอย่างชัดเจน. การแก้ปัญหาทางวิชาการของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาของยุคนี้โดยทั่วไป จึงปรากฏในทาง "แพ้-คัดออก". เพราะยังขาดความเข้าใจ. และในทางสังคมศาสตร์นั้น คำว่า "ทักษะ" ยังถูกเรียกขานและรู้จักกันอยู่ในอีกชื่อ/นิยาม/คำหนึ่ง อีกด้วย. คือ.. "นิสัย".


'via Blog this'

Comments

  1. ค่อย ๆ อ่านนะครับ ..ค่อนข้างซับซ้อนอยู่พอสมควร

    ReplyDelete

Post a Comment

การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)

Popular posts from this blog

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ

สมาธิตื้น สมาธิลึก