รู้จักกับคำว่า Interactive Drama กันครับ :)


ในทางวิชาการจะแยกสิ่งบันเทิงไว้ง่าย ๆ ในมุมของคำว่า "drama"
- การแสดงที่เป็นไปเพื่อกล่าวเรื่องต่าง ๆ แบบธรรมดาไม่ซับซ้อน ใช้ drama
- การแสดงที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์สูงและเร้าผู้ชมมาก ใช้ melodrama

* เกมคอมพิวเตอร์ได้มีการนิยามไว้ในคำว่า Interactive Drama *

ซึ่งปัจจุบันมีทั้งวิดีโอ (ภาพยนตร์) ประเภทที่เพิ่มฟังค์ชั่นสำหรับผู้ชมเลือกทิศทางของเนื้อหาถัดไปได้เอง (กึ่ง ๆ มอบอำนาจให้เลือกเนื้อเรื่องถัดไปที่จะมีผลกับตอนจบหลากหลายแบบที่เตรียมไว้ได้ ..เป็นที่นิยมใน YouTube พอควร นอกจากในสื่อ optical media)

..Interactive Drama เคยถูกใช้ในงานวรรณกรรมมาก่อน (การเลือกว่าจะไปหน้าไหนสำหรับออปชั่น A หรือ B หรือ C ฯลฯ ..การ์ตูน Comic/Manga เป็นที่นิยมในช่วงหนึ่ง ปัจจุบันยังพอมีให้เห็นบ้าง แต่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่มพอสมควร) ..ซึ่งก็แน่นอนว่า สามารถลงย่อยเป็น Interactive Melodrama ได้อีก

อุตสาหกรรมเกมในอเมริกาและญี่ปุ่นจึงได้รับการสนับสนุนเชิงวิจัยที่สูง ถูกพัฒนานำไปใช้ทั้งในแวดวงการศึกษา, การสื่อสารประชาสัมพันธ์, การฝึกยุทธวิธีทางทหาร และอื่น ๆ ไม่ใช่เพื่อความบันเทิงอย่างเดียว บริษัทผู้วิจัย-ผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์จะมีทิศทางที่หลากหลายให้ดำเนินกิจการ

ซึ่งประเทศไทยกล่าวได้ว่ายังไม่มีมุมมองนี้ (interactive drama) ที่ชัดเจนนัก ..จริงอยู่ที่ว่าสื่อลักษณะนี้ให้ความรู้สึกตื่นใจคล้ายนิยามบันเทิง แต่อันที่จริงจะอยู่ในนิยามภ.อังกฤษในส่วนของคำว่า
RECREATION (รีครีเอชัน)
ที่ในภ.ไทยให้ความหมายไว้ในคำว่า นันทนาการ, สันทนาการ ซึ่งคำหลังถูกคัดออกจากพจนานุกรมฯ ไปแล้ว มีความหมายว่า -กิจกรรมที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจในยามว่าง เป็นไปเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดต่าง ๆ- ซึ่งหมายถึง "บันเทิง" นั่นเอง          แต่ในภ.อังกฤษ คำว่า recreation ถูกตีความไว้กว้างกว่าชั้นของความบันเทิงเริงใจ เพราะชัดเจนว่าผสมจากสองคำคือ..
RE ที่หมายถึงทำซ้ำ หรือ again + CREATION ที่หมายถึงการสร้าง, การสร้างสรรค์
การตีความว่า "สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง" ในมุมของคริสตศิลป์ซึ่งเป็นเสาค้ำของโลกวิชาการตะวันตกนั้น ทำให้มีการถกกันอย่างกว้างขวางมานานในหลายสาขาวิชาการ ..โดยทั่วไปให้หมายความไว้กลาง ๆ ว่า..
เป็นกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ในระดับจิตและวิญญาณภายในของบุคคล
ซึ่งนั่นถือว่าเป็น "ธง" ของการวิจัยและพัฒนาวิธีการให้ความรู้แก่มนุษย์
และยังปรากฏในนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่อีกด้วย ในทุกบริบท (context)


.......

Comments

  1. ตัดสินใจเขียนไว้ที่นี่ก่อนในทุกอย่างนับจากนี้ครับ เพราะเอาไว้ให้ภาคราชการได้เข้าชมด้วย (เป็นเบาะแส + หลักฐานทางทรัพย์สินทางปัญญา) ซึ่งเดี๋ยวจะต้องจัดการเมนูด้านซ้ายใหม่ครับ เพราะตอนนี้ใช้ไดนามิคเทมเพลตของ Blogger ..ควรต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมครับ :)

    ReplyDelete
    Replies
    1. ที่เปลี่ยนเทมเพลตมาใช้แบบนี้ เพราะน่าจะช่วยให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรุ่นปัจจุบันที่คุ้นเคยกับ Social Media ต่าง ๆ มีสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกันครับ ..นั่นเป็นเหตุผลที่ Google + Blogger Team พัฒนาเทมเพลตแบบใหม่นี้ขึ้นมา ซึ่งเพิ่งมีการเชื่อมโยงเบื้องหลังไปที่ Google+ เมื่อสองสามวันที่ผ่านมานี้เองครับ :)

      Delete

Post a Comment

การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)

Popular posts from this blog

สมาธิตื้น สมาธิลึก

รีวิว เปรียบเทียบระหว่าง SEIKAI ART MARKER กับ COPIC Sketch [review and comparison]

Mind Set การศึกษาและอาชีพที่ลบยากในคนไทยยุคที่เชื่อมต่อกันมาและกันไปนี้..