Solopreneur จิ๊กซอว์ที่หายไป..จากฟรีแลนซ์ไทย
สังคมไทยกับคำว่า "ฟรีแลนซ์" นั้น.. ดูจะเป็นอะไรที่มีความน่าค้นหาในทางรายได้. เพราะเรื่องแปลกมากของฟรีแลนซ์ชาวไทยคือ ส่วนใหญ่จะรับงานแบบอิสระสุดกู่ ..กล่าวคือไม่ใช่กิจการที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจอย่างถูกต้องอะไร.
มีหลายวาระที่เกิดเป็นปัญหาเสียหายกันใหญ่โต จากการที่ฟรีแลนซ์บางรายไม่สามารถรับผิดชอบงานได้ขึ้นมา. บ้างก็ -ทิ้งลูกค้า- หายหน้าไปดื้อ ๆ ..โดยที่มีไม่น้อยเลยที่รับค่าจ้างล่วงหน้าจากลูกค้าไปแล้ว.
ความไม่เข้าใจกฎหมาย (หรือเข้าใจไปในอีกทิศทาง) และส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่นนั้น ส่งผลให้เกิดสภาวะของความไม่จริงจัง (กระทั่งขาดความรับผิดชอบ). ซึ่งหลายครั้งเลยเถิดไปถึงการที่จงใจจะประพฤติไปในแบบ "มิจฉาชีพ" ก็มีให้เห็น.
การที่จะเป็นฟรีแลนซ์แบบไทย ๆ นั้น ปัจจุบันถูกตั้งคำถามจากหลายแวดวงอย่างกว้างขวาง ถึงความน่าเชื่อถือ. เพราะผู้ที่วางตนเป็นฟรีแลนซ์เองก็มีแทบจะในทุกสาขาอาชีพอยู่เช่นกัน.
การกำลังจะมาถึงของกระแสแห่งความเป็นสากลเต็มตัวในฐานะ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" หรือ AEC (Asean Economic Community). ฟรีแลนซ์สัญชาติไทยจะปรับตัวได้อย่างไร ไปสู่ความเป็น "Solopreneur" (Solo Entrepreneur) ในมิติที่รองรับด้วยกฎหมาย (ที่มีมานานมากแล้ว) ..ซึ่งก็คือ "กิจการเจ้าของคนเดียว" หรือ Sole Proprietary ทีมีอยู่ในกฎหมายไทย ..แต่ถูกเข้าใจไปว่าเป็นเรื่องของ "ร้านค้า" ร้านขายของชำไว้จดฯ เท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริง -มันตรงกันข้าม-.
ฟรีแลนซ์ไทยนั้น ถูกมองเผิน ๆ ว่าน่าจะมีทักษะที่สูงหรืออาจถึงขั้นเรียกได้ว่า "เป็นมืออาชีพ" (Professional) ..แต่นั่นก็ไม่ได้สำคัญอะไรเลย. เพราะมืออาชีพที่แท้ควรต้องรองรับอยู่ด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันต่อผู้ว่าจ้าง ว่ากำลังติดต่อร่วมงานกับคนที่กฎหมายจะไม่ปลอยให้หนีหายไปเฉย ๆ โดยตามเอาผิดไม่ได้ ..นั่นเอง.
[ภาพจาก: blog.campaignasia.com]
.......
Solopreneur เป็นคำที่ใหม่มากสำหรับสังคมไทยครับ :)
ReplyDelete