Mind Set การศึกษาและอาชีพที่ลบยากในคนไทยยุคที่เชื่อมต่อกันมาและกันไปนี้..


  • อาชีพข้าราชการเป็นอาชีพที่เป็นทางการที่สุด
แนวความคิดและ "วิถีชีวิต" (Lifestyle) เรื่อง "สวัสดิการเฉพาะบุคลากรของรัฐฯ" นั้น ..ที่จริงแล้วตัวแนวคิดนั้นไม่ได้ต่างกับสวัสดิการที่ภาคกิจการหรือธุรกิจเอกชนจะจัดให้ -เฉพาะบุคลากร/พนักงานของตัวเอง- เลยครับ (เดิม ๆ จะต่างบ้างในด้านเงื่อนไขทางภาษีฯ ..แต่ด้วยค่าครองชีพยุคนี้ ทำให้รายจ่ายส่วนใหญ่ไม่ต่างกันนักครับ). เรื่องนี้มีแนวโน้มในอนาคตอันใกล้นี้ (หวังว่าและคาดว่า) การกล่าวถึง "วิถีชีวิต" ที่องค์กรสามารถมอบให้ จะกลายมาเป็นเรื่องแรกที่ภาคธุรกิจเอกชนต่าง ๆ ใช้เพื่อดึงดูดให้ผู้คนสมัครเข้าทำงานในองค์กรของตน ซึ่งผู้เขียนคาดว่าน่าจะทำให้ภาคธุรกิจเอกชนมีวิสัยทัศน์ที่เป็นมิตรกับสังคมมากขึ้นครับ

  • รองลงมาคือการหางานทำโดยการสมัครงาน
ปัญหาจะแก้ได้ ทั้งในงานราชการและเอกชน (เพื่อไม่ให้คนล้น หรือเป็นช่องทางของมิจฉาชีพได้ใช้เพื่อคอร์รัปชันเช่นที่ยังเป็นอยู่) เมื่อแนวคิดเช่นในคำอธิบายข้อก่อนหน้าได้รับการกล่าวถึงต่อเนื่องกันไปครับ. เพื่อให้ประชาชนเลิกที่จะยึดติดกับความคิดที่เอื้อต่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม (..คนบางกลุ่มที่คอยทำให้ครอบครัวหรือชุมชนตกอยู่ใต้อิทธิพลทางสังคมและความคิด หรือกระทั่งอำนาจของคนบางกลุ่มนั้น)

  • กิจกรรมทางอาชีพแบบอื่น ๆ เป็นเรื่องเสมือนงานอดิเรก คนเราต้องทำใน 2 อย่างข้างต้นเป็นหลักก่อน
การเริ่มต้นอาชีพด้วยตัวเองจำเป็นต้องใช้เงินและทรัพย์สินอื่นเป็นทุน เพื่อการจัดหามาซึ่งเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการทำงานหรือผลิตชิ้นงานต่าง ๆ.     2 ข้อข้างต้นล้วนอยู่ในกรอบของการ "สมัครงาน" ซึ่งไม่ต้องลงทุนเองใด ๆ ยกเว้นการลงทุนเพื่อวุฒิบัตรทางการศึกษา (..ค่านิยม ซึ่งจริง ๆ เป็นไปตามกรอบนโยบายการรับสมัครงานขององค์กรต่าง ๆ เท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นโลกการศึกษาแบบอุดมคติที่ผู้คนยังเข้าใจ/ยังเชื่อกันอยู่ครับ) ..อุปสรรคตัวจริงอยู่ที่ธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ และการกีดกันกันในทางการค้าภายในท้องถิ่น ..ไม่เกี่ยวกับความคิดลวงสมองที่ถูกยัดเยียดฝังหัวมารุ่นต่อรุ่นใด ๆ เลย..ครับ

  • สิ่งใดที่มีสอนในระบบโรงเรียน สิ่งเหล่านั้นเท่านั้นเป็นจริง
เครื่องแบบและวิถีชีวิตที่มีกฎเกณฑ์กำหนดคล้ายราชการ ทำให้รู้สึกว่าสิ่งใดเป็นหรือไม่เป็นทางการ ..ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อ "เนื้อหา" ของตำราและวิธีการสอนด้อยประสิทธิภาพลง แต่ทรัพยากรบุคคลที่เป็นเยาวชนกลับถูกทำให้ด้อยศักยภาพทางปัญญาลงไป เพียงเพราะผู้ปกครองไม่สามารถละทิ้งความเชื่อในระบบการศึกษาในอำนาจของรัฐบาลลงได้ ..อีกทั้งยังไม่เข้าใจกรอบแนวคิดของวุฒิบัตรทางการศึกษาดีพอ ยังมองแบบอุดมคติอยู่มาก ซึ่งสามารถส่งผลเสียในความเป็น "ประเทศเปิด" ของไทย. อ่านข้อถัดไปประกอบเพิ่มเติมครับ..


  • การศึกษาทางเลือกอื่น ๆ ไม่ใช่ของจริง
ไม่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองหรือกฎหมาย ..ไม่รู้จักพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. ปัญหาหลักจริง ๆ มาจากการที่ -กระทรวงศึกษาธิการ- ละเลยหน้าที่ในการต้องนำเสนอรูปแบบทางการศึกษาทั้งหมดที่มีอยู่จริงตามกฎหมาย ให้ประชาชนได้รับทราบเป็นความรู้สาธารณะ ..ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงไม่ทราบว่าครอบครัวนั้นมี "อำนาจในการจัดการศึกษา" ด้วยตัวเอง ซึ่งมีประโยชน์ในแง่การลดรายจ่ายที่ดูเหมือนจะเกินจริงไปมากของระบบโรงเรียนปัจจุบัน (อันทำให้หนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาพุ่งสูงอย่างไม่มีเพดานได้)

อีกทั้งการที่ไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ในเร็ว ๆนี้. เมื่อวันนั้นมาถึง สังคมไทยจะพบกับความสับสนในความเชื่อทางการศึกษาครั้งใหญ่ และความจริงเกี่ยวกับคุณภาพทางการศึกษาของระบบที่เกี่ยวพันกับภาครัฐฯ (โรงเรียน-ธุรกิจสถานศึกษา ..เป็นเพียงธุรกิจประเภทหนึ่งเท่านั้น) จะเผยตัวเองออกมา ว่าทักษะและวุฒิบัตรฯ ที่ได้กันมาหรือที่มีให้นั้น จะอยู่ที่มาตรฐานใดในระดับสากล. เรื่องนี้อันที่จริงเรารู้ได้ตั้งแต่ตอนนี้แล้วครับ ว่าประชากรจากประเทศสิงคโปร์ (ได้ชื่อว่ามีมาตรฐานทางการศึกษาในระดับสูงสุดในกลุ่มอาเซียน และข้อมูลนี้เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล) น่าจะเข้ามาเป็นกลุ่มผู้บริหารในหลายธุรกิจแน่นอน ถ้าเราไม่ "ปฏิวัติ" การศึกษาให้เป็นวิวัฒนาการใหม่ (จากประสบการณ์รวม ๆ ..แค่ปฏิรูปคงไม่พอเสียแล้วครับ ..เพราะรัฐบาลไทยเคยอ้างใช้คำว่า "ปฏิรูปการศึกษา" ไปแล้ว ด้วยการจัดโครงสร้างธุรกิจโรงเรียนใหม่และเพิ่มเงินเดือนครูบางส่วน ในขณะที่เนื้อหา, รูปแบบ, คุณภาพการเรียนการสอน ลดลง.. - ผู้เขียน)

  • การเรียน (แบบเข้าโรงเรียนเป็นนักเรียน) คือทุกอย่าง และไม่รู้+ไม่ศึกษาเพิ่มเติมกันจริงจัง ว่าจริง ๆ แล้วระบบการศึกษานั้นสร้างขึ้นจากวิธีคิด (วิสัยทัศน์ - กระบวนทัศน์) แบบไหน? อย่างไร?
นี่คือฟองสบู่ (การใช้เงินที่ตัวเองยังไม่มี จัดหาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาในสังคมหรือชีวิต) ส่วนที่ไม่มีใครกล้าพูดครับ เป็นวิถีชีวิตที่สวนทางกับระดับชุมชนในประเทศทุนนิยมชั้นนำของโลก ทั้ง อเมริกา, ญี่ปุ่น, เยอรมัน, ฝรั่งเศส ฯลฯ ที่มุ่งไปที่ให้คนมีรายได้ก่อน ค่อยเ้ข้าสู่โลกวิชาการในสถาบันการศึกษา เพื่อให้ประเทศกู้หนี้ยืมสินน้อยลง. เพราะระบบวุฒิบัตรการศึกษากับตลาดอาชีพนั้น โดยหลักแล้วเป็น "น้ำเดียวกัน".

เพราะในประเทศทุนนิยมชั้นนำนั้น ตัวตนจริง ๆ (บทบาท) ของสถาบันการศึกษาคือ เป็น "สถาบันวิจัยในด้านต่าง ๆ". เพื่อให้ความรู้ใหม่ ๆ ที่ค้นพบระหว่างทางวิจัย (วิชาการ/วิทยาการ) นั้น กลายมาเป็นทรัพย์สินและศักยภาพทางปัญญาของประเทศ ..ต้องให้ทรัพย์สินทางปัญญาของชาติสร้างรายได้ขึ้นมาเสียก่อน หน้าที่ของสถาบันวิจัยจึงขยับลงมาเป็นสถาบันการศึกษาที่ถ้าฟรีไม่ไหวก็ต้องย่อมเยาสำหรับประชาชน ..นี่คือทิศทางการตั้งและมีมาของ "ระบบการศึกษาแบบตะวันตก" ครับ และกล่าวได้เลยว่า เป็นแนวคิดที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบเอาเลย

การทำงานนั้นเป็นการเรียนรู้จากของจริง (โจทย์เป็นสถานการณ์จริง). ส่วนการเรียนในโรงเรียนนั้นเป็นการเรียนรู้ผ่าน "แบบจำลองต่าง ๆ" (โจทย์เป็นสถานการณ์จำลอง). แน่นอนว่า อเมริกาและญี่ปุ่นนั้น (ยกตัวอย่างนะครับ) เคยประสบปัญหาในระดับประเทศว่า โรงเรียนทำให้นักเรียนแก้ปัญหาที่เจอในชีวิตจริงไม่ได้ ใช้ทำงานในความเป็นจริงไม่ได้ดี เพราะประเทศทุ่มงบทางภาคการศึกษามากอย่างอุดมคติเกินไป ..อย่างอุดมคติ หมายความว่า -เชื่อว่าแบบจำลองอันมหาศาลนั้นสร้างทักษะที่สัมพันธ์กับสถานการณ์จริงได้- ..ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็ให้ผลอย่างนั้นครับ แต่ไม่ใช่กับสถานการณ์ "สด" ที่ต้องเจอกันวันต่อวัน ..มันใช้ได้กับสถานการณ์-จริง-ที่เคยสร้างไว้แล้วเท่านั้น เช่น การบริหารจัดการ หรือดูแลโครงสร้างทางสังคม สาธารณูปโภค และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีมาแล้ว-มีอยู่ (รวมถึงปัญหาของมัน ในการปรากฏตัวขึ้นแบบเก่า ๆ เดิม ๆ ..คือต้องตรงกับแบบจำลองที่เคยสอนเคยเรียนกันเท่านั้นจึงจะรับมือได้ ..มิติทางความคิดนี้ได้มีการศึกษาวิจัยไปถึงด้าน -อารมณ์, ความคิด, ความรู้สึกของมนุษย์- (การทำงานของจิตและสมอง) ที่ทำให้ผู้คนมีความทุกข์ ที่เป็นเหตุของสถิติอาชญากรรม ปัญหาสังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อัตราการฆ่าตัวตายที่สูง" ..ที่เป็นดัชนีความทุกข์มวลรวมของแต่ละประเทศเหล่านั้น)

มันนำมาซึ่งการ "ปฏิรูปภาคธุรกิจใหม่" เพื่อเป็นการปรับตัวด้วยงบประมาณที่ภาครัฐฯ ไม่ต้องจัดหาเองมากนัก โดยการร้องขอเพื่อการสร้างธรรมเนียมใหม่ ๆ ขึ้นมา ในรูปแบบที่ภาคธุรกิจต้องมีส่วนของการ "ใ้ห้การศึกษาแก่บุคลากรเองอย่างสม่ำเสมอในบุคลากรทุกระดับอายุและทุกระดับอาวุโสในองค์กร" (ซึ่งแต่ละองค์กรก็จะมีรูปแบบของตัวเองครับ) ..ดูเผิน ๆ เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมไทย จะคล้ายกับการที่เราจะใช้คำพูดว่า "ช่วงฝึกงานถูกขยายให้ยาวนานขึ้น" โดยได้รับค่าตอบแทนไปด้วยเช่นที่ทำกันโดยทั่วไป. ซึ่งในบางองค์กรอาจจัดถึงขนาดสอนเขียนอ่านกันขึ้นมาเลยก็มี เพราะในบางท้องถิ่นอาจไม่มีโรงเรียนตั้งอยู่เลย แต่ประชากรนั้นมีและจำเป็นต้องมีรายได้ ภายใต้ "ระบบเศรษฐศาสตร์แบบใหม่ของโลก" ..ก็เกื้อหนุนกันและกันอย่างนี้ครับ.
ลองคิดดูว่า ถ้าประชากรในท้องถิ่นไม่มีรายได้เป็นเงินอยู่ก่อนเลย ..แต่ดันมีโรงเรียนแบบต้องเสียค่าเทอมตั้งขึ้นมา.. ก็ต้องขายสินทรัพย์ที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นให้เป็นเงินก่อน (สำหรับคนที่มี) แล้วเข้าเรียน ..ซึ่งกับคนที่ไม่มีสินทรัพย์อะไรพอจะแลกเป็นเงินได้ อยากเข้าเรียนหรือส่งลูกหลานเข้าเรียนก็ต้องกู้หนี้ยืมสิน. // นี่คือแบบที่ไทยเราเป็นครับ
แต่ถ้าคุณมีความคิดสร้างสรรค์ละก็ เค้าจะให้ธนาคารพิจารณาจากความคิดคุณในฐานะ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ครับ และนี่ก็จะกลายเป็นทรัพย์สินที่คุณสามารถใ้ช้เปลี่ยนเป็นเงินมาเป็นทุนได้ แต่ไม่ใช่เพื่อให้เอามันไปจ่ายค่าเทอมหมด ..เค้าให้เพื่อให้คุณตั้งกิจการ สร้างเป็นอาชีพที่ขายออกตลาดได้จริง (คุณอาจแบ่งงบไว้ทำงานส่วนหนึ่ง และจัดอีกส่วนหนึ่งเพื่อเข้าโรงเรียนไปด้วยอันนี้แล้วแต่ เพราะคุณสามารถคิดกับส่วนนี้ว่าถือเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่ม/พัฒนาความรู้ของคุณเองก็ได้ครับ. และเอกสารการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของคุณจะถูกจัดเก็บใน "หอสมุดแห่งชาติ" ..เพื่อเป็นประโยชน์ให้สาธารณะชนได้ศึกษาต่อไป) ..ซึ่งถ้าคุณรับชาวบ้านเข้ามาช่วยทำงานด้วยกัน ชาวบ้านก็จะได้รับการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ไปด้วยนั่นเอง บางพื้นที่จึงไม่มีโรงเรียนก็ได้ เพราะดั้งเดิมจะเรียนกันที่โบสถ์ (ชาวคริสต์)  หรือที่วัด ..กันมาอยู่แล้วครับ. (เป็นชุมชนทางศาสนากันอยู่ และเดี๋ยวนี้ยังคงเป็นอยู่ คือใครไม่มีเงินก็ไปเรียนที่โบสถ์ได้ ..ไม่ได้ต้องง้อแต่โรงเรียนแต่อย่างใด. ซึ่งสังคมไทยพอเปลี่ยนเอาการศึกษาแบบตะวันตกเข้ามา คนที่นับถือศาสนาพุทธกลับตัดวัดออกจากวิถีชีวิตการเรียนรู้วิชาการพื้นฐาน (การเขียนและการอ่าน) ก็เลยทำให้ไม่รู้ว่าแต่เดิมบรรพชนเราไปเรียนอะไรที่วัด ..ซึ่งความตื่นวัฒนธรรมกลับส่งผลเสียในรูปของการปลูกฝังความรู้สึกอุดมคติต่อโรงเรียนว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ในระยะยาว จนทุกวันนี้
Mind Set ของท้องถิ่นในประเทศทุนนิยมชั้นนำของโลกนั้น ..ถ้าคุณอยากมีความรู้..คุณไปโบสถ์. ถ้าคุณอยากมีกิน..คุณก็เพาะปลูกหรือทำปศุสัตว์ให้เป็น (เรียนจากคน-เรียนจากโบสถ์). ถ้าคุณอยากมีรายได้เป็นเงินและีมีความรู้ "เพิ่มเติม" ไปพร้อมกันด้วย..คุณไปหางานทำ. เมื่อคุณมีรายได้ (เงิน) เป็นของตัวเองแล้วจะเรียนในโรงเรียนเพิ่มเติมอีก..ก็ว่าไปตามกำลัง. จงอย่าเป็นหนี้เพราะเรียนการเขียนการอ่าน (ภาษาของชาติตัวเอง) คุณเรียนที่โบสถ์ได้..และนี่มอบอภิญญาในการอ่านหนังสือทุกเล่มในจักรวาลให้คุณอยู่แล้ว ..เมื่ออ่านออกเขียนได้จงประกอบอาชีพแล้วศึกษาเพิ่มเติมเมื่อมีรายได้เพียงพอ เพราะวิชาการในโรงเรียนนั้นซับซ้อนและลึกขึ้นและให้ผลในทางที่ทำให้อาชีพคุณ "ประณีต" วิจิตรมากขึ้นกว่าระดับท้องถิ่น/ชุมชน. // บรรพชนของเค้ามองโรงเรียนเป็นการศึกษาทางเลือกครับ (Alternative Educational Function for 'Our Own People') เพราะเป็นของใหม่ในครานั้น. ซึ่งใช้กันมาสักระยะก็หวือหวา จนวิถีชีวิตแบบเดิมที่จริงกว่าจางหายไปบ้าง ..และตอนนี้กำลังได้รับการฟื้นฟู "กระบวนทัศน์" (Paradigm) ดั้งเดิมขึ้นมาใหม่ครับ.. นี่เองที่เป็นที่มาของคำวิจารณ์ว่าโรงเรียนนั้นสามารถและเคยล้างสมองได้อย่างไร ..นั่นเองครับ.
การศึกษาแบบ Main Stream (กระแสหลัก) กำลังจะถูกผลักให้เป็นทางเลือกครับ 
"สยาม" นั้น.. ยุคที่เคยได้รับการยอมรับจากโลกตะวันตกว่าเป็นอารยะ เพราะในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ..เราอยู่แบบเดียวกันกับพวกเค้านั่นเองครับ.
แต่วันนี้ที่เราทุกข์ ..เพราะเราเปลี่ยนวิถีชีวิตกันมาเอง
ในขณะที่โลกตะวันตกยังอยู่กันแบบเดิม ๆ เป็นส่วนใหญ่ครับ ..ไม่เปลี่ยนมากนัก
แต่ยังมีความเป็น -ศาสนิกชน- มากกว่าสังคมไทยแน่นอนครับ.


.......

Comments

  1. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
    Replies
    1. ความเห็นเข้ามาซ้อนกัน 2 บ็อกซ์ในเวลาเดียวกันครับ ก็เลยลบออกหนึ่งอัน แต่มันแสตมป์เวลาเดียวกันก็เลยหายไปทั้งคู่เลย -_-"

      Delete
    2. ซ้ำอีกแล้ว -_-"

      Delete
  2. บ้านเราตอนนี้เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบ "ทวิภาคี" ระหว่างภาคธุรกิจเอกชนกับโรงเรียนในท้องถิ่นบ้างแล้วครับ. โดยมีกรณีศึกษาสำคัญคือของ SCG กับวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุต ..ทาง SCG ประสบปัญหาว่า สถาบันการศึกษาอาชีวะในไทยไม่มีหลักสูตรด้านปิโตรเคมิคอลโดยตรงซึ่งทาง SCG ต้องการ ก็เลยต้องออกแบบหลักสูตรขึ้นมาเองและร่วมมือกับสถาบันอาชีวะในท้องถิ่นหรือที่ใกล้เคียงที่สุด ซึ่งในที่นี้คือวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุตครับ เพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรระดับปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านปิโตรเคมิคอลโดยตรงเข้าสู่ SCG เอง โดยที่มีวุฒิบัตรระดับอาชีวะศึกษามอบให้เช่นเดียวกับหลักสูตรอาชีวะทั่วไปอื่น ๆ ครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ใครสนใจลองหาข้อมูลเพิ่มเติมกรณีข้างต้นดูนะครับ :) เป็นกรณีศึกษาที่ดีทีเดียว

      Delete

Post a Comment

การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)

Popular posts from this blog

สมาธิตื้น สมาธิลึก

รีวิว เปรียบเทียบระหว่าง SEIKAI ART MARKER กับ COPIC Sketch [review and comparison]