ภาษาไทยราชการกำลังจะกลายเป็นภาษาที่มีผู้ใช้น้อยที่สุดภาษาหนึ่ง?

"ภาษากลาง" หมายถึงอะไร?

"ภาษาไทยกลาง" โดยหมายความตามบริบทแล้วไม่ได้หมายถึงภาษาท้องถิ่นคนไทยภาคกลาง ..แต่หมายถึงรูปแบบของภาษาไทยในแง่ "ภาษาราชการ" ซึ่งก็คืออย่างที่ให้เรียนกันอยู่ในแบบเรียนโดยทั่วไป

ความสับสนเกิดจากการสื่อสาร จากภาษาไทยราชการถูกเข้าใจว่าหมายถึงภาษาไทยท้องถิ่น ที่มีคำศัพท์จนกระทั่งสำเนียงของตัวเอง ทั้งที่จริงคนภาคกลางนั้น "พูดเหน่อ" ..กล่าวคือ ออกเสียงผิดจากหลักวรรณยุกต์ของภ.ไทยราชการ ..คำว่า "ภาษากลาง" ถูกเข้าใจผิดเพี้ยนไป จนกล่าวได้ว่าถึงวันนี้คำนี้ถูกหมายความแบบแบ่งภูมิภาคแล้วเรียบร้อย ทั้งที่ไม่ใช่ภาษาแบบท้องถิ่น


ถูกกลืน 1.

ปัญหาความไม่เข้าใจนี้ เราจะเห็นได้จากการพยายามอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น..ซึ่งเป็นมิติของประเพณีมากกว่ามิติของวัฒนธรรม ..ซึ่งมีทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่อาจกลายมาเป็นจุดอ่อนด้านการเมืองการปกครอง

  • ข้อดี: ในแง่ศิลปวัฒนธรรม
  • ข้อเสีย: ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการแบ่งแยกประชากรประเทศเดียวกันออกจากกัน เนื่องจากประชาชนปฏิเสธภาษากลาง (ด้วยคิดว่าเป็นภาษาของคนภาคกลาง และถูกทำให้ไม่เข้าใจความเป็นเครื่องมือสื่อสารกลางของประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาษาราชการของชาติ) ทำให้คนประเทศเดียวกันต่างคนต่างพูดคนละภาษา และปฏิเสธกันและกัน

ถูกกลืน 2.

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สามารถที่จะทำให้ความสำคัญของภ.ไทยราชการลดลงไปอีกในหมู่ประชากรได้ และอาจเป็นเครื่องมือหลักที่ทำให้เกิดปัญหาคอร์รัปชั่นในข้าราชการระดับท้องถิ่น เรื่องการสวมสิทธิ์ประชากรจากประเทศข้างเคียงที่มีรูปภาษาใกล้เคียงหรือตรงกับภาษาท้องถิ่นของแต่ละภาค ชุมชนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจขยายตัวขึ้นในราชอาณาจักรไทย และอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้อีกในที่สุด
  • ระดับท้องถิ่น.. ภ.ไทยราชการอาจหายจากการสื่อสารด้วยการพูดไปเลย คงเหลือแต่ด้านงานเอกสารที่มีผลทางกฎหมายโดยตรง และหากไม่กระจายความรู้ด้านภ.ไทยราชการให้เป็นสาธารณะมากกว่านี้ (ลงให้ถึงชุมชนด้วยคำอธิบายที่ถูกต้องและเหมาะสม ไม่ใช่อยู่แต่ในโรงเรียน เนื่องจากหลายชุมชนเข้าใจผิดไปว่าการศึกษาของมนุษย์หมายถึงโรงเรียน ไม่มีการจัดตั้งระบบให้การศึกษากันด้วยตนเอง และรอให้มีการสร้างโรงเรียนเท่านั้น) ..ในสังคมเล็ก ๆ ภาพของการแบ่งแยกคนที่รู้และใช้ภ.ไทยราชการ กับภ.ท้องถิ่นจะชัดเจน และอาจนำไปสู่การไม่ยอมรับกันอย่างรุนแรงได้ หากมีประชากรที่ใช้ภาษาที่คุ้นเคยเข้ามาเพิ่มเติมในพื้นที่
  • ระดับประเทศ.. ภ.ไทยราชการ (ตามแบบเรียน ..ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมากว่า 700 ปี) ที่มีใช้อยู่ประเทศเดียวนี้ อาจกลายเป็นภาษาที่มีผู้ใช้น้อยที่สุดในโลกภาษาหนึ่ง. และผลกระทบหนึ่งสามารถจะมาจากอีกสาเหตุหนึ่ง คือ "กฎบัตรอาเซียนข้อ 34" ..ที่ว่าด้วยการกำหนดภาษาที่ประเทศในอาเซียนจะใช้ทำงาน / สื่อสารระดับรัฐบาลด้วยกัน (ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมในภาคธุรกิจส่วนใหญ่ไปด้วย) ไว้ว่าเป็น "ภ.อังกฤษ".
มีความเป็นไปได้ในแง่มุมเครื่องมือทางการเมืองสูงมาก ที่..ภูมิภาคที่ใช้ภ.ท้องถิ่นเป็นหลัก (ในบริบททางสังคมทุกวันนี้) จะถูกแทรกด้วยประชากรจากประเทศข้างเคียงที่ใช้ภาษาใกล้เคียงกัน. เรื่องนี้ดูขัดใจหลายภาคส่วนอยู่มาก แต่ไม่เกินความเป็นไปได้ครับ

การเพิ่มขึ้นของ "ประชากรใหม่" ที่ย้ายภูมิลำเนาข้ามประเทศโดยพละการนี้ จะกระทบกับการบริโภคทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างชัดเจน รวมถึงการดูแลด้านต่าง ๆ ที่ปรกติไม่พอเพียงกันอยู่แล้วต่อจำนวนประชากรของบางพื้นที่ ก็จะยิ่งไม่พอกันมากขึ้นไปอีก ..เหตุผลการย้ายเนื่องจากไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลประเทศตนเองนั้นเป็นเรื่องน่าเห็นใจก็จริงอยู่ ..แต่อยากให้ช่วยกันพิจารณาถึงความเป็นจริงไปพร้อม ๆ กันว่า ..เรารองรับได้เพียงพอ ..จริงหรือ?


อนาคตภาษาไทย

ความไม่ใส่ใจด้านการใช้ของคนไทยรุ่นปัจจุบัน (โดยเฉพาะด้านการออกเสียง) ทำให้คนไทยส่วนใหญ่พูดภ.ไทยชัดน้อยกว่าชาวต่างชาติที่กำลังเรียนภ.ไทย (ยกตัวอย่างภ.อังกฤษ ..ภ.อังกฤษไม่มีข้ออลุ้มอล่วยทางการใช้รุนแรงเท่าที่คนไทยมีกับภ.ไทย เราจะได้ยินการออกเสียงอักขระไม่ชัดอยู่โดยทั่วไป ที่จริง ๆ แล้วความหมายเพี้ยนไปด้วยในทัศนของชาวต่างชาติที่กำลังศึกษาภ.ไทย ..แต่คนไทยกลับมองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ ..นั่นเท่ากับมอบความจริงที่ว่า ภ.ไทยถูกละเลยจากคนไทยเองด้วยซ้ำไปครับ)

AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) สร้างแรงดึงดูดในการย้ายถิ่นสู่ประเทศไทยอย่างมาก ปัจจัยสำคัญคือความพร้อมด้านเส้นทางคมนาคมและโครงข่ายเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมที่น่าสนใจกว่าหลายประเทศใกล้เคียงกัน. แต่อุปสรรคจะอยู่ที่ทัศนคติของรัฐบาลในด้านการบริหารทรัพยากรและสาธารณูปโภคไปอย่างไร..หากมีจำนวนคนมากขึ้นอย่างนั้น โดยที่ยังไม่นับนักท่องเที่ยวด้วยซ้ำไป

การใช้ภาษาไทยดูเหมือนถูกเพิกเฉยการส่งเสริมจากรัฐบาล กลับเป็นตัวชาวต่างชาติเองเสียอีกที่สนใจจะเรียนรู้มันก่อนจะเดินทางมาท่องเที่ยว เราเลือกกันเองที่จะส่งเสริมภ.อังกฤษในขณะที่มองข้ามการใช้ภ.ไทยให้ถูกต้องไปพร้อมกันด้วย ..นี่เป็นเรื่องที่น่าจับตามาก ว่าในระยะ 100 ปีจากนี้คนไทยจะรักษาภ.ไทยราชการที่พัฒนามากว่า 700 ปี ไว้ได้หรือไม่..?

ในเมื่อระบบโรงเรียนส่งเสริมมันไม่สำเร็จอย่างนี้..


.......

Comments

  1. ประเด็นอ่อนไหวมากนะครับ ขอให้ผู้อ่านทุกท่านใช้วิจารณญาณอย่างสูง และอ่านอย่างไม่รีบร้อนครับ.

    ReplyDelete
  2. อยากให้คนไทยเข้มงวดกับภ.ไทยเหมือนที่เราเข้มงวดกับการเรียนและใช้ภ.อังกฤษนะครับ :)

    ReplyDelete

Post a Comment

การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)

Popular posts from this blog

สมาธิตื้น สมาธิลึก

รีวิว เปรียบเทียบระหว่าง SEIKAI ART MARKER กับ COPIC Sketch [review and comparison]

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ