Theoristic-hypothesis เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ผ่านกิริยา "เล่น". [บทความเนื้อหาบูรณาการ (Integrative article)]






คำว่า "Play" (เล่นไปเรื่อย)  ..ถ้าใช้หรือมองในแง่การเรียนรู้ของมนุษย์แล้ว บริบทหรือพฤติการณ์ คือ "Explore" (สำรวจไปรอบ ๆ)

...

เด็กที่กำลังเรียนรู้ภายใต้การเล่นไปเรื่อย คือ "Explorer" (นักสำรวจไปรอบ ๆ) ..ทำอย่างนั้นเพื่อ "To 'discovered' something" (ค้นพบเจอบางอย่าง)
ซึ่งถ้าดึงดูดความสนใจไว้ได้ (Interesting) ก็จะเริ่มพินิจ (Study, Focus, Observe) เป็นการเริ่มคาบเวลาแห่งสมาธิ (Meditating-On/In) และกำลังเป็นบุคคลที่ 1 (First person) ที่พัฒนาฉับพลันพลิกจากบทบาทบุคคลที่ 2 ในแง่ที่ตอบสนองต่อสิ่งที่เ็ห็น/พบ/เจอในแว่บแรก

...

การเปรียบเทียบความทรงจำและประสบการณ์กำลังเกิดขึ้นภายในจิตระดับต่าง ๆ และสมองไปตลอดการสำรวจ (Comparable) ประกอบการพินิจรับข้อมูลใหม่เป็นสำเนาในแต่ละประทับเวลา (Duplication from nature/duplicable informations in every single time-stamp)

[ซึ่งระบบประทับเวลาของธรรมชาติ หากเทียบเคียงกับมาตราส่วนการวัดคาบเวลาที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ต้องยอมรับว่ามีการเชื่อมโยงกันตั้งแต่มาตราส่วนที่เล็กมาก ไปจนสัมพันธ์ข้ามสามัญสำนึกทางเวลาปัจจุบัน ไปสู่สถานการณ์ในอนาคต, ตรงนี้เป็นทฤษฎี/สันนิษฐาน จากพฤติการณ์ทางฟิสิกส์อนุภาคในมาตราส่วนของควอนตัมฟิสิกส์, ผู้เขียนสัินนิษฐานว่าอย่างน้อยประสบการณ์ของมนุษย์กับภาพความฝันในนิยาม "เดจาวู" น่าจะใช้พฤติการของอนุภาคในมาตราส่วนและทรรศน์ควอนตัมฟิสิกส์ลงไปมาอธิบายปรากฏการณ์ทางเวลาได้ เพราะมีทั้งการปรากฏพร้อมกันของอนุภาคตัวเดียวกันบนปริภูมิเวลาที่ต่างกันได้ และอื่น ๆ ซึ่งแย้งสามัญสำนึกทางเวลาตามมาตราส่วนของมนุษย์]
...
สิ่งที่เกิดขึ้นในด้านประสาทวิทยา/วิทยาศาสตร์ทางประสาทวิทยา-สมอง (Neuroscience) คือ..
สมองส่วนสีเทาที่ยังไม่เปิดใช้งาน หาก frequencies ของกระแสไฟฟ้า (ทั้งในกรอบของ spectrum ทางประสาทวิทยาจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ โดยรวมบนแต่ละ pulse และ time-stamp และทั้งในกรอบของ harmonics และ harmonic contents) ถูกต้องกับตำแหน่งใด เซลล์เกลีย/เซลล์ค้ำจุน “โอลิโกเดนโตรไซต์” (Oligodendrocytes) จะทำงานตามฟังค์ชั่นของมันเองตามธรรมชาติในมาตราส่วนทางขนาดที่เล็กของเซลล์ประสาท (nerve cells) โดยยื่นแขนของมันออกไปหาก้าน/แขนระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละตัว (Axon, แอ็กซอน) เพื่อปั้นไขมันชนิดหนึ่งคลุมไว้เป็นแผ่นบาง (หรือเยื่อหุ้มที่มีความบาง) เป็นฉนวนเพื่อรักษากระแสไฟฟ้า/กระแสประสาทนั้นให้เกิดการเดินทางที่รั่วไหลลดลง, ซึ่งแผ่นไขมันบาง ๆ นี้เรียกว่า “ไมอีลิน” (Myelin, Myelin sheet)

ซึ่งในมาตราส่วนทางการมองเห็นของมนุษย์ จะเรียกภาพรวมของโทนสีขาวบนพื้นที่สมองนี้ว่า “สมองส่วนสีขาว” ..ซึ่งจริง ๆ ก็คือ ส่วนสีเทาที่ปกคลุมด้วยไมอีลินนี่เอง เป็นพื้นที่เนื้อสมองหรือเซลล์ประสาทที่ถูกเปิดใช้งาน ด้วยกระแสไฟฟ้า/กระแสประสาทที่กระตุ้นมาจากอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ และถูกหุ้มด้วยฉนวนไมอีลิน, แผ่นไมอีลินนี้ ศัพท์ทางการแพทย์ในภ.ไทยเรียกว่า “ปลอกประสาท” เพราะหุ้มแกน/แขน axon ระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละตัวอยู่ (โรคอย่าง “ปลอกประสาทอักเสบ” จึงแสดงออกภายนอกเป็นการที่อวัยวะบางส่วนเสียศักยภาพการทำงานลง เนื่องจากไมอีลินถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพลง เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการ)

การได้ซ้ำกิจกรรมหรือซ้ำ frequencies เรื่อย ๆ จะเป็นการกระตุ้น Oligodendrocytes function ให้หุ้มไมอีลินซ้ำบน axon เดิมให้หนาขึ้นเป็นชั้น ๆ, ซึ่งเมื่อมีความหนาอย่างมาก เน็ตเวิร์คของเซลล์ประสาทองค์รวมของประสบการณ์นั้น จะกลายเป็น “ทักษะระดับฝังแน่น”, เป็นความถนัดเชิงเคลื่อนไหว และถ้าหนามากขึ้นไปอีกจนลดทอนคาบเวลาของกระแสไฟฟ้า/กระแสประสาทนี้ได้สั้นอย่างมาก จนอาจดูเหมือนไม่สูญเสียเวลา ทักษะหรือความสามารถแห่งนิวรอนเน็ตเวิร์คนี้ (neuron network) จะเป็นหนึ่งในหลายสิ่งของ “จิตใต้สำนึก” และ “จิตไร้สำนึก”
ทุกประสบการณ์ของปัจเจกมนุษย์ จึงมีผลเป็นบริบทของการออกแบบตัวมันเองของสมองและระบบประสาททั่วร่าง (designation of neuron systems)

ทั้งหมดเริ่มจากฟังค์ชั่นปฐมภูมิของเซลล์คือการทำสำเนาจักรวาล (Duplications) และพันไมอีิลินลงไป, การทำสำเนานี้ เป็นเรื่องทั่วไปที่เอามาเรียกกันว่า “กระจกเงา, เซลล์กระจกเงา”, ถ้าเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดี จึงไม่ควรซ้ำไมอีลินลงไปอีก ไมอีลินสามารถเสื่อมสภาพได้เองตามสมควร ขอแค่เริ่มด้วยการไม่ทำซ้ำหรือผ่านประสบการณ์นั้นซ้ำ

ความต่อเนื่องทางเวลาของ “สมาธิ” ตรงระหว่างกิริยา-กิจกรรม “เล่น” นี้ หากได้กินคาบเวลายาวนานเพียงพอ การสร้างกล้ามเนื้อที่เชื่อมโยงถึงเซลล์ประสาทแต่ละตำแหน่งจะสมบูรณ์เพียงพอ ที่จะพาชีวิตดำเนินต่อเนื่องข้ามพร้อมเวลาไป
ซึ่งเมื่อการพินิจต่าง ๆ เสร็จสิ้นลง ค้นพบบางอย่างซึ่งเป็นคำตอบของสิ่งที่ถูกพินิจจนหมด ณ ช่วงคาบเวลาตรงหน้านั้นลง, การ Explore หรือ Play จะจบลงเอง
...
ในทัศน์ของระดับอายุที่โตกว่าคำว่า “เล่น” (เป็น Explore เชิง Entertainment ที่มีมาตราส่วนแบบ Paradigm เด็กเล็กจึงผูกหรือยึดติดกับการได้เล่น), บรรยากาศความสนใจระดับ entertain จะลดลง แต่ไม่ถึงกับหมดไปจนชั่วชีวิต ยังมีอยู่เสมอ เพียงลดลงและเรียกใช้สูงได้ตามสถานการณ์ ไปสู่คำทางสังคมวิทยาเป็น “การศึกษา” มากขึ้น คือมีระดับความจริงจังของความสนใจ มุ่งมั่น ค้นคว้า เพื่อบรรลุการ Explore ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ ของชีวิต

ในทางทฤษฎี/สันนิษฐาน แล้ว, บุคลิกภาพ นิสัยใจคอ ทัศนคติ โลกทัศน์ หรือรวม ๆ คือ Characteristic ของปัจเจกบุคคลนั้น ขึ้นกับผลการสลักเสลาสมองในบริบทของ Neuroscience
- - - - - - -

มนุษย์ทุกคนเป็น EXPLORER, และสามารถที่จะมีหรือได้รับโอกาสแห่งการพัฒนาศักยภาพ (สิทธิมนุษยชน ซึ่งตรงนี้ขอเพิ่มคำ “สิทธิมนุษยชาติ” เอาไว้ครับ) ที่จะเป็น PIONEER เรื่องราวใหม่ให้กับโลก ตั้งแต่ในมาตราส่วนอารยธรรมครอบครัว --> ชุมชน --> ชนชาติ --> และระดับอารยธรรมดาวเคราะห์

- - - - - - - - - - - -
สงวนลิขสิทธิ์เฉพาะเพื่อการอธิบายเพิ่มเติมภายหลัง และสิทธิ์ในการทำพาณิชยกิจจากเนื้อหาบทความนี้ วีณาฑัต ธรรพ์วิมลบุตร vnatat.com All Right Reserved, Saturday, October 10th, 2015 GMT+7 (Original publish dated on My Facebook Profile's Notes)

Comments

Popular posts from this blog

สมาธิตื้น สมาธิลึก

รีวิว เปรียบเทียบระหว่าง SEIKAI ART MARKER กับ COPIC Sketch [review and comparison]

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ