ความลับของการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการบรรเลงดนตรี



เป็นเรื่องของกลไกต่อไปนี้ครับ

  • ความสัมพันธ์กันของตำแหน่งทางเวลา ของการคิดและรู้สึกในบางสิ่ง และการที่นิ้วหรือลม (หรืออุปกรณ์เบรรเลง) ที่จะถ่ายทอดน้ำหนักการสัมผัสสู่เครื่องดนตรีจะเกิดขึ้นในคาบเวลาไล่เลี่ยกัน
  • น้ำหนักของการบรรเลง มาจากอวัยวะของผู้บรรเลงเองโดยตรง การถ่ายทอดน้ำหนักใด ๆ ในแต่ละคาบหรือตำแหน่งทางเวลาของแต่ละโน้ตนั้น มีความหนักเบา (ไดนามิค) ที่แตกต่างหรือเหมือนกัน คละไป, เหมือนโดยสมบูรณ์แบบกับการใช้มือหรือนิ้วสัมผัสตัวบุคคลอื่นที่มีความรักหรือความสัมพันธ์ต่อกัน เป็นการสัมผัสให้อีกฝ่ายรู้สึกและรับความหมายของการสัมผัสได้
  • ซึ่งอีกฝ่ายในที่นี้คือ "เครื่องดนตรี" ซึ่งรับสัมผัสแล้วเกิดเสียง การบรรเลงดนตรีคนเดียวให้ตัวเองฟังจึงประโลมจิตใจของศิลปินหรือนักดนตรีผู้บรรเลงได้ ไม่ต่างกับการได้โอภาปราศัย ไต่ถามความสุขความทุกข์ กับตัวเอง, และเมื่อการบรรเลงนั้นมีซึ่ง "ผู้ฟังอื่น" ผู้ฟังก็ย่อมได้รับสัมผัสคลื่นเสียงนั้น ได้รับทราบทั้งอารมณ์และความรู้สึกนั้นไปด้วย
  • กลไกทั้งหมดนี้ จะพบได้ว่า แม้ในกรณีที่ผู้บรรเลง ทำการบรรเลงไปตามความรู้สึกตนโดยสูญเสียความสม่ำเสมอทางจังหวะ หรือการ ad-lib หรือ improvisation ในบางครั้งนั้น คลื่นเสียงที่ออกมาก็ยังคงเปี่ยมไปด้วยอารมณ์และความรู้สึก และผู้ฟังสัมผัสได้
  • เวลาบรรเลงก็คือ ..เพราะรู้สึกอย่างนั้น..อย่างโน้น..อย่างนี้..ต่อเรื่องนี้อยู่ ..เพราะคิดแบบนี้อยู่ นิ้วและมือจึงถ่ายทอดโน้ตที่สัมพันธ์และมองเห็นทางความคิดตัวนั้น..ตัวโน้น..ตัวนี้..ออกมา มีประธาน กิริยา กรรม บุพบท วิเศษณ์ นัยยะ ความหมาย ฯลฯ ..สุดแต่จะพรรณา
ทั้งหมดนี้สร้างความ "สมบูรณ์แบบ" ตามนิยาม "ดนตรี" ที่ควรจะเป็น อยู่ และคือ

การบรรเลงโดยปราศจากอารมณ์ความรู้สึกใด ๆ นั้นมีจริงได้ เราได้ยินกันทั่วไปไม่ยากนัก, แต่ในโลกของดนตรีแล้ว นับเพียงว่า.. "มันเป็นเสียง" แม้จะออกมาจากเครื่องดนตรี แม้จะสร้างตามทฤษฎีบทอย่างถูกต้อง

..แต่มันกระด้าง แตกต่าง และขาด "วิญญาณ" (ธาตุรู้)

..คือทำให้มันยังไม่เป็น ..ไม่อยู่ ..และไม่คือ .."ดนตรี".

Comments

Popular posts from this blog

สมาธิตื้น สมาธิลึก

รีวิว เปรียบเทียบระหว่าง SEIKAI ART MARKER กับ COPIC Sketch [review and comparison]

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ