ใครคือเทพเจ้าสูงสุด?



กิเลสเป็นบาปหรือไม่? ..นิยามของบาปนั้นตั้งบนความเบียดเบียนทั้งตั้งแต่ตนเองหรือต่อผู้อื่น ความอยากที่เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติชอบนั้นมีเช่นกัน แต่ในที่นี้ผมอยากให้เรามองไปที่คนที่ทำไม่ดี กับกิเลสแบบเบียดเบียนที่เกิดขึ้น
. . .
การบนบานเทพเจ้าให้ดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ตามที่มีคนขอนั้น ถูกพลิกจากบุคลาธิษฐานเพื่อการปฏิบัติด้วยตนเองไปเป็นระบบแบบเวทย์มนตราอย่างสมบูรณ์มาหลายร้อยปี ผู้เฝ้าอ้อนวอนขอมักไม่รู้ว่า ตนเองดำเนินกิจวัตรที่กลายมาเป็นความเบียดเบียนตน พร่องลงทั้งทรัพย์ พร่องลงทั้งเกียรติในการนับถือตนเอง และผละจากการที่ตนจะเป็นที่พึ่งให้แก่ตนไป
. . .
เกมความคิดที่ซุกซ่อนอยู่ในพิธีการ เป็นการพรางตัวเองของผู้อ้อนวอนโดยมี base จากความเป็นส่วนหนึ่งของ socialization หนึ่งหรือสังคมของตน ทำให้มีความอับอายที่จะเปิดเผยว่าจริง ๆ แล้วอาจมีหรือเป็น "ความจำเป็นในชีวิต" หรือในครัวเรือนบางอย่าง (ถ้าตรงนี้จะไม่นับเรื่องความอาฆาตมาดร้าย สำหรับกรณีปองร้ายสาปแช่งบุคคลอื่น)

แท้ที่จริงแล้วไม่มีใครกราบไหว้เทพเจ้า แต่กราบไหว้บูชาเพียงตนและความต้องการของตนเอง โดยใช้การกล่าวอ้างความผูกพันธ์ระหว่างตนกับเทพ/ลัทธิ/ศาสนาท้องถิ่น ไปสู่ "สมมติสิทธิ์" พอ ๆ กับการที่อารยธรรมชนชาติของเขาได้สมมติเทพเจ้าขึ้นมา
. . .
ที่สุดแล้ว หากผู้ขอนั้นต้องมีชีวิตอยู่รอเพื่อรับผลของการขอ ก็แสดงว่าตัวเขานั้นคือเทพเจ้าที่แท้จริง ผู้ที่ไม่ได้บนบานเทพใดด้วย "ศรัทธาให้เปล่า" แต่เป็นอามิสสินจ้างเทพใดนั้น..เสมือนบ่าว, เพียงแต่อายที่จะออกปากว่า เขาบูชาเพียง "กู" ในตัวเขาเอง

ปฐมบท "คนโลกสวย" ในอารยธรรมมนุษย์ ผู้นิยมทำผิดแต่ไม่กล้ายอมรับออกตัวว่าฉันทำเพราะฉันอยากทำ ฉันต้องได้เพราะฉันอยากได้

~ โค้ช วีณาฑัต ธรรพ์วิมลบุตร. 19 พฤศจิกายน 2015.

Comments

Popular posts from this blog

สมาธิตื้น สมาธิลึก

รีวิว เปรียบเทียบระหว่าง SEIKAI ART MARKER กับ COPIC Sketch [review and comparison]

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ