เรามักได้ยินคำว่า "สมาธิสั้น" กันอยู่ทั่วไป มักจะอธิบายตามมาว่าเป็นการโฟกัสในแต่ละสิ่งต่อเนื่องกันนาน ๆ ไม่ได้, แต่อันที่จริงแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะพบกันว่า คนที่ถูกระบุว่าสมาธิสั้นนั้น ยังไงก็จะมีกิจกรรมบางอย่างที่เขาสามารถโฟกัสต่อเนื่องนาน ๆ ได้ คำถามก็เลยอยู่ที่ว่า.. "อะไรคือสมาธิสั้นกันแน่?" - - - ในพุทธศาสนา, ถ้าเราวิเคราะห์ไปที่ "อารมณ์ของคน" และการตอบสนองข้อมูลที่เข้ามาในระดับบ "พื้นผิว" หรือฉากหน้า หรือเนื้อหาที่มองเห็นได้, พื้นผิวย่อมหมายถึง "ชั้นตื้น" จิตและคุณสมบัติที่เรียกว่า "ภวังค์" นั้นคือพฤติการณ์แห่งสมาธิ ภวังค์ระดับตื้น จึงเป็นการตอบสนองในระดับพื้นผิวหน้าหรือบนสุดของข้อมูลหรือสถานการณ์ที่ปรากฏเป็นประจักษ์ (ปรากฏซึ่งหน้า) และการเว้นช่วงทางเวลาในแต่ละ "การต่อบท" ภายในสถานการณ์สดนั้น คือการได้ทำงานหยั่งของภวังค์ ถ้าเวลาน้อยก็จะทันได้หยั่งไม่ลึก ถ้าเว้นช่วงมากหน่อยก็จะหยั่งได้ลึกขึ้น คือลงไปชั้นเหตุและผล และกระทั่งชั้นพิจารณ์จากความทรงจำและประสบการณ์เก่าที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ซึ่งหน้า ณ ปัจจุบัน
Comments
Post a Comment
การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)