ที่สาธารณะ/สถานบริการ อะไรเปิดได้และไม่ได้




/// เพิ่มเติมส่วนบนนี้เข้ามาภายหลัง: "วิทยุ/ทีวี" ในรายละเอียดตามกราฟิก ใช้กับสัญญาณฟรีทีวี/สัญญาณวิทยุสาธารณะฟรีนะครับ หมายถึงสถานีหรือผู้ให้บริการเผยแพร่สัญญาณที่ไม่ได้เป็นลักษณะบอกรับสมาชิกมีการเรียกเก็บค่าสมาชิกภาพหรือการให้บริการ, การเผยแพร่ซ้ำจากสัญญาณโดยผู้ให้บริการที่คิดค่าบริการสมาชิก ไม่สามารถทำได้ครับ ไม่ว่าการเผยแพร่ซ้ำนั้นจะเก็บเงินจากผู้ชมหรือไม่, เว้นแต่ได้ทำข้อตกลงกับผู้ให้บริการว่าอนุญาตให้มีสิทธิ์ในการเผยแพร่ซ้ำได้ ส่วนจะเก็บเงินค่าชมจากผู้ชมหรือไม่ ก็ขึ้นกับรายละเอียดตามที่ได้ทำข้อตกลงกันครับ///

[ถัดจากนี้ลงไปเป็นเนื้อหาเดิมของโพสท์]

เป็นการอธิบายถึงบริบทของผู้บริโภคในการกระทำการ "เป็นผู้เผยแพร่ซ้ำ" ทั้งหมดนะครับ

ซึ่ง "สิทธิ์ในการเผยแพร่" แรกสุดนั้นเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มาตรา ๑๕ (๒)

การดูหรือฟังเองนั้นจัดเป็นการใข้งานโดยตรงในฐานะผู้บริโภคครับ, แต่พอ "เปิดให้คนอื่นดูหรือฟัง" ← นี่คือพฤติการณ์แบบ "ผู้เผยแพร่" ซึ่งค่อนข้างเป็นลักษณะการเผยแพร่ซ้ำ, ถือว่าหลุดจากบริบทของการเป็นผู้บริโภคเองไปแล้ว

คือจากความเป็น Consumer/Buyer กลายไปเป็น Content Provider ซึ่งนับเป็นลักษณะของ "ผู้ให้บริการ" (ไม่ว่าจะฟรีหรือคิดเงิน), เพราะฉะนั้นการมองตัวเองในฐานะผู้บริโภคถือว่าจบลงทันที ตรงนี้ที่ทำให้หลายคนไม่เข้าใจ ว่าตัวเองผิดอะไรครับ, ผิดโดยทางพฤติการณ์นั่นเอง คือบทบาทเปลี่ยนโดยการกระทำ

ซึ่งในส่วนของ "แผ่นแท้ (สำหรับแผ่นที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์แบบ Commercial use)" นั้น เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด, ในรายละเอียดของ..

มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
มาตรา ๒๘ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

จริง ๆ แล้วเผยแพร่ซ้ำไม่ได้เลยนะครับ, แต่กฎหมายไทยสามารถอ้างอิงคำพิพากษาและฎีกาได้ ใครที่ได้ติดตามเรื่องราวข่าวทางปัญหาการจับกุมผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ คงพอจะทราบถึง "คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553" บ้างแล้ว แต่ฎีกาฉบับนี้กล่าวถึงพฤติการณ์ในทางพาณิชย์เท่านั้น (เก็บเงินจากการเปิดให้ลูกค้าฟังหรือไม่?), ซึ่งไม่ใช่การชี้ถึงพฤติการณ์การเป็นผู้เผยแพร่ครับ และไม่ใช่สิ่งที่กราฟิกนี้นำเสนอ, เพียงแต่รายละเอียดของคดีในฎีกานี้ สำคัญตรงที่ "ทำให้เงื่อนไขในการเป็นผู้เผยแพร่ซ้ำนั้นสามารถทำได้ถ้าไม่เก็บค่าบริการจากการเปิดเพลงให้ลูกค้าฟัง" ..ตรงนี้เองที่มามีผลต่อพฤติการณ์ความเป็นผู้เผยแพร่ซ้ำที่เราพูดถึงครับ

สำหรับรายละเอียดเชิงเทคนิคที่สัมพันธ์กับกฎหมายของ "บริการสตรีมมิ่ง" จะขยายความให้ทราบในส่วนต่อไปครับ

ตอนนี้สำหรับท่านที่ทำกิจการร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ฯลฯ แนะนำว่าให้คำนึงถึงการเปิดแผ่นเป็นลำดับแรกสุด, รองลงมาคือวิทยุ/ทีวี, และขอให้ข้ามการเปิดหน้าจอหรือลำโพงกระจายเสียงหากเป็นคอนเทนท์จากบริการสตรีมมิ่งไว้ก่อนครับ เพราะมีข้อบ่งใช้เกี่ยวกับสิทธิในการเป็นผู้ใช้บริการหรือสมาชิกภาพของบริการสตรีมมิ่งแต่ละแบรนด์ มีผลบังคับให้ไม่สามารถเผยแพร่ซ้ำได้ครับ ยกเว้นการแชร์ url หรือฝังโค้ดบนเว็บไซต์ของท่านเอง เพื่อให้เกิดการชมแบบ interactive เป็น 1:1 เข้าไปที่เซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการเท่านั้น ไม่สามารถทำการเผยแพร่ซ้ำในรูปแบบหรือเทคนิคที่นอกเหนือจากนี้ได้ครับ เพราะเป็นข้อตกลงทางการใช้งานที่ทุกท่านรับไว้เมื่อสมัคร รวมทั้งยังแสดงบนหน้าเว็บ url ต่าง ๆ ถึงข้อบ่งใช้ทางลิขสิทธิ์เอาไว้เป็นไฮเปอร์ลิงค์ (โดยส่วนใหญ่) ซึ่งทำให้การรับชม/เข้าชม จะต้องเป็น 1:1 ผ่านหน้าจอหรือตัวอุปกรณ์ทาง ICT ที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนชิ้นอุปกรณ์แบบส่วนบุคคลและเป็นรายบุคคลเท่านั้นครับ (ในกราฟิก จึงได้ระบุไว้ว่า ทางเทคนิคไม่สามารถเปรียบเทียบกับวิทยุโทรทัศน์ได้) (ซึ่งการเข้าถึงแบบ 1:1 นี้ กรณี YouTube หลายท่านคงทราบว่า ไม่ต้องเป็นสมาชิกก็สามารถเข้าชมหน้าวิดีโอที่ตั้ง "ค่าการเผยแพร่" เป็น Public ได้, ซึ่งในทางปฏิบัติ ก็จะเกิดการชมแบบ 1:1 เช่นเดียวกันกับสมาชิกทุกประการนั่นเอง)

ข้อจำกัดทางบริการสตรีมมิ่งนี้จะเปลี่ยนแปลงต่อเมื่อ เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ทำเท่านั้นครับ, ซึ่งในทางปฏิบัติเรื่องการขอ/ให้อนุญาต จำเป็นต้องทำเอกสารระบุเป็นราย URL แบบเจาะจง

/// และส่วนล่างสุดนี้เพิ่มเติมภายหลังพร้อมกันกับส่วนบนสุดครับ: วิทยุ/ทีวี หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพที่มีค่าใช้จ่ายแบบบอกรับสมาชิกนั้น (ผู้บริโภคเสียค่าสมาชิกในการได้สิทธิ์รับชม) มีนัยทางเทคนิคการให้บริการสิทธิ์ที่เหมือนกับบริการสตรีมมิ่ง คือเป็นสิทธิ์แบบ 1:1 ในผู้บริโภค

เพราะฉะนั้น เกี่ยวกับงานแพร่เสียงแพร่ภาพ ขอให้งดเว้นการเผยแพร่ซ้ำในที่สาธารณะหรือสถานบริการ หากเป็นสัญญาณของ 1.วิทยุ/ทีวีที่มาจากผู้ให้บริการหรือสถานีที่เรียกเก็บค่าบริการ/ค่าสมาชิกภาพ 2.บริการสตรีมมิ่ง ..ทั้งสองบริการนี้ให้งดเว้นไว้ก่อนครับ ถ้าไม่ได้ทำข้อตกลงขอสิทธิ์กระทำการเป็นผู้เผยแพร่ซ้ำเป็นกรณีเฉพาะไปที่ผู้ให้บริการ ///.

Comments

Popular posts from this blog

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ

สมาธิตื้น สมาธิลึก