หนี้ครัวเรือนที่สัมพันธ์กับการเลือกตั้ง
ช่วงนี้สัมผัสได้ว่า หลายคนหาทางออกไม่ได้ว่าเศรษฐกิจส่วนตัวและครัวเรือนจะดีขึ้นได้ด้วยทางออกแบบไหน
หนี้ภาคครัวเรือนกระจายออกเป็นวงกว้างแบบวัฒนธรรม
"วัฒนธรรม" เป็นเรื่องน่ากลัวเมื่อมันเกี่ยวกับการสร้างหนี้สิน
เดิมทีแล้วในสมัยก่อนเวลาที่ท้องถิ่นหรือชุมชนจะจัดงานอะไรร่วมกันสักงาน จะใช้วิธี "ระดมทุน" ซึ่งถ้าเป็นงานบุญในทางศาสนาพุทธ เราจะคุ้นกัน (คนรุ่นใหม่หน่อยอาจจะลาง ๆ) ในคำว่า "ผ้าป่าสามัคคี" และ "กฐินสามัคคี"
เป็นการระดมทุนเหมือนเข้าหุ้นกัน ให้ได้เงินกองกลางก้อนใหญ่ไปจัดซื้อหรือจัดสร้างอะไรก็ตามที่ทางวัดต้องใช้ในแต่ละปี ซึ่งถ้าเราเปรียบเทียบเป็นเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ สิ่งที่ดูคล้ายก็คือ "การเสียภาษี"
ภาษีนั้นเหมือนผ้าป่า/กฐิน และประเทศก็เหมือนวัด แต่ทีนี้ความอาร์ตมันบังเกิดตรงที่ จู่ ๆ มีบางคนในชุมชนอยากจัดงานเอาหน้าโดยไม่ดูกำลังทรัพยากรด้านต่าง ๆ ของตัวเอง และไม่ระดมทุน (เพราะเป็นงานจัดเอาหน้า ..หน้าใหญ่ว่างั้น) ..และแนวโน้มการทำตามกันทางวัฒนธรรมมันก็อาร์ตอีก ตรงที่.. คนที่จัดนั้นแสดงแสนยานุภาพทางอำนาจทางสังคมของตัวเองออกมา เช่นความเป็นข้าราชการท้องถิ่น อย่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ ฯลฯ ไปจนถึงเป็นส.ส. ซึ่งจัดแล้วเอาหน้าเอาชื่อตัวเป็นหลัก คนอื่นก็ทำบ้าง ทำเพื่อหวังว่าวันนึงข้างหน้า ตนจะขึ้นเป็นใหญ่ให้คนในท้องถิ่นเกรงกลัวบ้าง เกรงใจบ้าง ..แต่จัดแล้วกลายเป็นทาสต่อผู้มีอิทธิพล เพราะโดยมากไปขอให้ช่วยกันในเรื่องเงินทอง หรืออะไรก็ตามที่ใช้ "ประดับบารมี" ได้
มันกลายเป็น "ผ้าป่าเดี่ยว, กฐินเดี่ยว" ..ตัวเองเหมือนวัดที่ต้องการอะไรใหญ่โตและแพงเพื่อหวังหน้าตาบารมี, มองข้ามว่าตนกำลังสร้างหนี้ที่ผูกพันไปถึงรุ่นลูก (อย่างน้อย ๆ) หรือกระทั่งลูกหลานเองก็ต้องไปทำอะไร ๆ ที่ทำเพื่อมาเสริมหน้าตาบารมี (ที่ไม่มี) ของตน
เศรษฐกิจในครัวเรือนก็พินาศ ด้วยวัฒนธรรมแปลก ๆ
ผู้มีอิทธิพลหลายรายที่เกี่ยวพันกับนักการเมือง ก็เอาวิธี "โปรโมชั่นลดหนี้, พักหนี้ชั่วคราว, ปลดหนี้ให้เลย" มาดึงดูดใจแลกกับการลงคะแนนเสียง ถ้าเป็นคนที่ชาวบ้านนับถือหน่อยก็ให้ไปกล่อมชาวบ้านมาให้ได้ แล้วจะได้โปรโมชั่นตามที่ตกลงกัน
หนี้ครัวเรือนที่ดันสัมพันธ์กับการเลือกตั้ง ตรงนี้นักวิชาการหลายท่านทราบดีว่ามีจริง และประเทศนี้จะไม่ได้นักการเมืองคุณภาพเลย ถ้าไม่แก้จุดหนี้นี้ออกจากวัฒนธรรมก่อน
หนี้ภาคครัวเรือนกระจายออกเป็นวงกว้างแบบวัฒนธรรม
"วัฒนธรรม" เป็นเรื่องน่ากลัวเมื่อมันเกี่ยวกับการสร้างหนี้สิน
เดิมทีแล้วในสมัยก่อนเวลาที่ท้องถิ่นหรือชุมชนจะจัดงานอะไรร่วมกันสักงาน จะใช้วิธี "ระดมทุน" ซึ่งถ้าเป็นงานบุญในทางศาสนาพุทธ เราจะคุ้นกัน (คนรุ่นใหม่หน่อยอาจจะลาง ๆ) ในคำว่า "ผ้าป่าสามัคคี" และ "กฐินสามัคคี"
เป็นการระดมทุนเหมือนเข้าหุ้นกัน ให้ได้เงินกองกลางก้อนใหญ่ไปจัดซื้อหรือจัดสร้างอะไรก็ตามที่ทางวัดต้องใช้ในแต่ละปี ซึ่งถ้าเราเปรียบเทียบเป็นเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ สิ่งที่ดูคล้ายก็คือ "การเสียภาษี"
ภาษีนั้นเหมือนผ้าป่า/กฐิน และประเทศก็เหมือนวัด แต่ทีนี้ความอาร์ตมันบังเกิดตรงที่ จู่ ๆ มีบางคนในชุมชนอยากจัดงานเอาหน้าโดยไม่ดูกำลังทรัพยากรด้านต่าง ๆ ของตัวเอง และไม่ระดมทุน (เพราะเป็นงานจัดเอาหน้า ..หน้าใหญ่ว่างั้น) ..และแนวโน้มการทำตามกันทางวัฒนธรรมมันก็อาร์ตอีก ตรงที่.. คนที่จัดนั้นแสดงแสนยานุภาพทางอำนาจทางสังคมของตัวเองออกมา เช่นความเป็นข้าราชการท้องถิ่น อย่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ ฯลฯ ไปจนถึงเป็นส.ส. ซึ่งจัดแล้วเอาหน้าเอาชื่อตัวเป็นหลัก คนอื่นก็ทำบ้าง ทำเพื่อหวังว่าวันนึงข้างหน้า ตนจะขึ้นเป็นใหญ่ให้คนในท้องถิ่นเกรงกลัวบ้าง เกรงใจบ้าง ..แต่จัดแล้วกลายเป็นทาสต่อผู้มีอิทธิพล เพราะโดยมากไปขอให้ช่วยกันในเรื่องเงินทอง หรืออะไรก็ตามที่ใช้ "ประดับบารมี" ได้
มันกลายเป็น "ผ้าป่าเดี่ยว, กฐินเดี่ยว" ..ตัวเองเหมือนวัดที่ต้องการอะไรใหญ่โตและแพงเพื่อหวังหน้าตาบารมี, มองข้ามว่าตนกำลังสร้างหนี้ที่ผูกพันไปถึงรุ่นลูก (อย่างน้อย ๆ) หรือกระทั่งลูกหลานเองก็ต้องไปทำอะไร ๆ ที่ทำเพื่อมาเสริมหน้าตาบารมี (ที่ไม่มี) ของตน
เศรษฐกิจในครัวเรือนก็พินาศ ด้วยวัฒนธรรมแปลก ๆ
ผู้มีอิทธิพลหลายรายที่เกี่ยวพันกับนักการเมือง ก็เอาวิธี "โปรโมชั่นลดหนี้, พักหนี้ชั่วคราว, ปลดหนี้ให้เลย" มาดึงดูดใจแลกกับการลงคะแนนเสียง ถ้าเป็นคนที่ชาวบ้านนับถือหน่อยก็ให้ไปกล่อมชาวบ้านมาให้ได้ แล้วจะได้โปรโมชั่นตามที่ตกลงกัน
หนี้ครัวเรือนที่ดันสัมพันธ์กับการเลือกตั้ง ตรงนี้นักวิชาการหลายท่านทราบดีว่ามีจริง และประเทศนี้จะไม่ได้นักการเมืองคุณภาพเลย ถ้าไม่แก้จุดหนี้นี้ออกจากวัฒนธรรมก่อน
Comments
Post a Comment
การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)