Personification คำว่า "พรหม" ต้องย้อนไปดูความหมายที่ศาสนาพราหมณ์, และความครองใจฝูงชนของ "ปุคลาธิษฐาน" (บุคลาธิษฐาน)..

ภาพจาก: calacacademy.org

  • "พรหมัน" (พรม-มัน, พรัม-มัน) เป็นคำที่ใช้เรียก-สภาวะของจิตที่เป็นสากล- เป็นสภาวะสูงที่สุดของจิตซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ..เป็นสภาวะที่รู้แล้วว่ามีโลกและอารมณ์ต่างๆ อยู่ .."แต่จะไม่เป็นส่วนหนึ่งกับโลกหรืออารมณ์ใดๆ นั้น" คือ แยกจิตนี้ออกมาเป็นเอกเทศและถือครองสภาวะเอกเทศนี้เอาไว้ ..จะไม่เป็นทุกข์
  • "จิตบริสุทธิ์" (ไม่ผ่านการปรุง) คือ "พระพรหม" (คำว่า -พระ- มาจากคำว่า วร คือวอ-ระ, วะ-ระ หมายถึง "บริสุทธิ์") ..ซึ่งก็คือสภาวะว่างเปล่าอันสามารถเป็นฐานแห่งการสร้างสรรพสิ่ง จาก-ความไม่มี- สู่ -ความมี- ..โดยความหมายของคำแล้ว "พระพรหม" จึงถูกอธิบายว่า "เป็นผู้สร้าง" ..นั่นเอง


[คำว่า "พรหม" เฉยๆ ที่ไม่มี "พระ" ประกอบอยู่ จึงสามารถหมายถึง "ใจ" ..ซึ่งในพระอภิธรรมปิฎก ของศาสนาพุทธ อธิบายว่า ..ใจ เป็นองค์รวมของจิต+เจตสิก..หมายถึงสภาวะที่จิตถูกปรุงหรือหลอมไปตามสภาพแวดล้อมแล้ว]


ภาพจาก: utilitarian.com

  • ในศาสนาพุทธ จึงมีคำสอนที่ใช้สำหรับ -เพื่อกำหนดองค์แวดล้อมให้แก่พรหม- เอาไว้ ..เรียกว่า "พรหมวิหาร" (ที่อยู่ของใจ) ซึ่งมี 4 องค์..สำหรับผู้ที่ต้องอาศัยอยู่กับโลก


  1. เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข)
  2. กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์)
  3. มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล)
  4. อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน) [เฉพาะข้อมูลข้อ 1-4 นี้จากวิกิพีเดีย]

..จะเห็นได้ชัดเจนว่าข้องเกี่ยวกับด้าน "อารมณ์" และความรู้สึก ตามแบบผู้ที่ยังไม่อาจพ้นทุกข์ (จะเป็นจาก "เหตุจำเป็น" โดยตนเองหรือผู้อื่นก็ตามแต่) (หลักการ-ควรที่จะพิเคราะห์ตามเหตุจำเป็น-นั้นเป็นที่มาของ "มัจฉิมา ปฏิปทา" หรือ -ทางสายกลาง- นั่นเอง ..ซึ่งว่าไปตามองค์แวดล้อมของใครของมัน ใช้แทนกันไม่ได้)




ภาพจาก: travelpod.com

  • "พระพรหมที่ไม่ใช่เทวรูป" จึงเป็นบรรยากาศของศาสนาพราหมณ์ซึ่งถือเรื่องการปฏิบัติด้านจิตเป็นสำคัญ ทั้งระดับ อาตมัน-อันถือจริงในสิ่งที่อายตนะมอบให้ (อัตตา) ..หรือ -ปรมาตมัน-ที่เห็นถึงความไม่เที่ยงแท้ในสิ่งที่อายตนะมอบให้จึงไม่ขอยึดถือ (อนัตตา) ..ซึ่งในทางวิชาการจะแยกออกจาก "ศาสนาฮินดู" (ความเชื่อของชาวอินเดีย, ระดับชาวบ้านซึ่งติดอยู่กับการบูชาแบบ "บุคลาธิษฐาน")


"ปุคลาธิษฐาน" หรือ บุคลาธิษฐาน นั้น..โดยส่วนตัว (ผู้เขียน) แล้ว ..มองว่าเป็นปัญหาของทุกศาสนาในโลก (คู่กันคือ "ธรรมาธิษฐาน") หลักการนี้คือการอธิบายคำสอนอันเป็นนามธรรม (จับต้องมองเห็นไม่ได้) ให้ออกมาในลักษณะของรูปธรรม (จับต้องมองเห็นได้) โดยใช้ คน สิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไร้ชีวิต เป็น สมมติ..ขึ้นมาในเชิงกายภาพ (physical) เพื่อให้ผู้รับฟังเข้าใจได้ง่าย..ในเบื้องต้น (เท่านั้น)


(-ร่างทรง- นั้นเป็น variable หนึ่งของหลักบุคลาธิษฐาน ..ยังมีอยู่และได้รับความนิยมถึงทุกวันนี้)


ที่กลายเป็นปัญหาคือ คนมักถือจริงถือจังกับ "ตัวละคร" หรือสัญลักษณ์เชิงบุคคลในคำสอนต่างๆ จนอยู่เหนือธรรมาธิษฐานหรือหลักธรรมที่จับต้องมองเห็นไม่ได้ ..ที่สุดแล้วกลายเป็นการบูชาเทวรูปไป

รูปสำหรับบูชา (idol), สัญลักษณ์สำหรับบูชา (icon) รวมเรียกว่า "Graven Images".

[ศาสนาพราหมณ์เองก็ประสบกับข้อเท็จจริงนี้ จึงต้องแยกออกมาให้ชัดว่า..สิ่งที่ "คนอินเดีย" เชื่อเกี่ยวกับบุคลาธิษฐานนั้น ไม่ใช่หลักการสูงสุดหรืออุดมคติของศาสนาพราหมณ์ ..การถือจริงถิอจังนั้น แม้ว่าคล้ายกับหลัก "อาตมัน" ก็ไม่ใช่อุดมคติของศาสนาพราหมณ์อยู่ดี ..แต่เป็นความเชื่อของชาวอินเดียโดยส่วนใหญ่ (วรรณะล่างๆ) ที่กว้างขวางเป็นอันมาก จึงเรียกกันว่า "ศาสนาฮินดู" หรือ Hinduism]


ภาพจาก: oldindianarts.in


[เรื่องนี้แม้แต่ศาสนาพุทธในประเทศไทยเองก็กลายเป็นปัญหาเช่นกัน] ..ในประเทศไทย เรามักจะพบ -วิวาทะ-ในระดับชาวบ้านอยู่บ่อยๆ ระหว่าง "หลักธรรม" และความเข้าใจที่ชาวพุทธทั่วไปรับมาจากฮินดู (บุคลาธิษฐาน)

สิ่งที่เหมือนกันของศาสนาฮินดู และพุทธศาสนา (นิกายมหายาน-บางสาย) คือ หมายความของ "อธิษฐาน"..ที่เป็นไปในทาง "อ้อนวอนขอ"..

แต่ในทางพุทธศาสนา นิกายหินยาน (เถรวาท) นั้น "อธิษฐาน" คือ -การตั้งจิตเพื่อกำหนดทิศทาง/ขั้นตอนการกระทำของตัวเอง- (กรรม) เพื่อให้บรรลุผลตามหัวข้อที่ตั้ง ..เป็น -การทำเอง- ไม่ใช่การฝากให้ใครหรือเทพเจ้าแบบบุคลาธิษฐานทำให้แทน..


ในประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธา จนเป็นคำอุทานเชิงเวทนาว่า.. "นี่หรือเมืองพุทธ..!?"
..ก็เพราะบรรยากาศของบุคลาธิษฐาน ที่ส่งต่อกัน-รุ่นสู่รุ่น-มาอย่างยาวนานนับร้อยๆ ปี
ปัจจุบันกลายเป็น "การนับถือศาสนาไปตามทะเบียนราษฎร์" (ผู้เขียนเรียกว่า "นิกายมหาดไทย")
ขาดการปฏิบัติตนอย่างศาสนิกชน ..ใช้ชีวิตไปตามใจชอบและแก้ไขด้วยการอ้อนวอนขอ

ความอันตรายของ "ความไม่อยากทำความเข้าใจ" ของผู้คนต่อหลักศาสนาเชิงธรรมาธิษฐาน ก็คือ..
ความไม่เข้าใจนั้นสามารถส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นไปได้นับพันๆ ปี (เช่น ศาสนาฮินดู) ..และทำให้ผู้คนพ้นทุกข์ได้ยากยิ่ง

เพราะอาจไม่มีวันได้รู้เลยว่า.. อะไรแน่คือสิ่งที่ตนและครอบครัวกำลังสักการะอยู่? ..นั่นเอง.

.......
ยกมาจาก My facebook

Comments

Popular posts from this blog

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ

การตรวจสอบอีเมลปลอมที่เป็น PayPal หรืออื่น ๆ