สมาธิตื้น สมาธิลึก

เรามักได้ยินคำว่า "สมาธิสั้น" กันอยู่ทั่วไป มักจะอธิบายตามมาว่าเป็นการโฟกัสในแต่ละสิ่งต่อเนื่องกันนาน ๆ ไม่ได้, แต่อันที่จริงแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะพบกันว่า คนที่ถูกระบุว่าสมาธิสั้นนั้น ยังไงก็จะมีกิจกรรมบางอย่างที่เขาสามารถโฟกัสต่อเนื่องนาน ๆ ได้

คำถามก็เลยอยู่ที่ว่า.. "อะไรคือสมาธิสั้นกันแน่?"
- - -
ในพุทธศาสนา, ถ้าเราวิเคราะห์ไปที่ "อารมณ์ของคน" และการตอบสนองข้อมูลที่เข้ามาในระดับบ "พื้นผิว" หรือฉากหน้า หรือเนื้อหาที่มองเห็นได้, พื้นผิวย่อมหมายถึง "ชั้นตื้น"


จิตและคุณสมบัติที่เรียกว่า "ภวังค์" นั้นคือพฤติการณ์แห่งสมาธิ

ภวังค์ระดับตื้น จึงเป็นการตอบสนองในระดับพื้นผิวหน้าหรือบนสุดของข้อมูลหรือสถานการณ์ที่ปรากฏเป็นประจักษ์ (ปรากฏซึ่งหน้า) และการเว้นช่วงทางเวลาในแต่ละ "การต่อบท" ภายในสถานการณ์สดนั้น คือการได้ทำงานหยั่งของภวังค์ ถ้าเวลาน้อยก็จะทันได้หยั่งไม่ลึก ถ้าเว้นช่วงมากหน่อยก็จะหยั่งได้ลึกขึ้น คือลงไปชั้นเหตุและผล และกระทั่งชั้นพิจารณ์จากความทรงจำและประสบการณ์เก่าที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ซึ่งหน้า ณ ปัจจุบัน



การทำสมาธิในระดับประณีตที่เรียกว่า "วิปัสสนา" นั้น จึงจัดกล่าวได้ว่าเป็น "สมาธิลึก", หมายความว่า ภวังค์เข้าขั้นหลุดพ้นจากอิทธิพลของเวลาและสถานการณ์ซึ่งหน้า หรือทำตอนไม่ได้มีสถานการณ์ซึ่งหน้าปรากฏอยู่เป็นการเรียกบทบาทเราให้ตอบสนองอยู่เลย (ปลีกวิเวก, สันโดษ ในที่ส่วนตัวหรืออยู่ลำพัง)

ภวังค์ระดับลึกนี้ มีพฤติการณ์ของจิตและกระบวนการทางความคิดเกิดได้หลากหลายและซับซ้อน ทั้งในทางรูปแบบและมิติสัมพันธ์ ความจริงจังของกระบวนการทางตรรกะ/เหตุผล การพิจารณ์ความทรงจำและประสบการณ์เก่าบน Time Stamp ต่าง ๆ จะเหมือนกระแสน้ำเชี่ยว หมายถึงไม่ได้ไหลเป็นระนาบมิติเดียว แต่มีการหมุนวน พลิกผัน สอดเคล้า ประสาน ซับซ้อน เป็นเสมือนลวดลายต่าง ๆ ของความคิดและจินตนาการ เพื่อไปจนถึงจุดพิสุทธิ์ทางปัญญา เป็นญาณทัสสนะ
- - -
การได้ช่องของเวลา จึงสำคัญมาก เหมือนเป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิงให้กับ "ภวังค์" ได้ทำงานหยั่ง เช่นการคุยกันแม้จะเพียง 15 วินาที แต่การเว้นระยะระหว่างบทสนทนาแต่ละครั้ง เพื่อให้ภวังค์ของแต่ละฝ่ายได้หยั่งนั้น ถือเป็นศิลปะขั้นสูงในการกระตุ้นญาณทัสสนะ

การเสพสื่อ จึงมีน้อยชิ้นของสื่ออย่างมาก ที่จะมีการเว้นช่วงให้ภวังค์ของผู้รับสื่อได้ทำงานหยั่ง, เวลาสั้นมากย่อมทำได้เพียงระดับตื้นที่ตื้นอย่างมาก (เท่าเวลาที่ได้มาซึ่งหน้า) ประมวลอยู่เพียงระดับพื้นผิวที่เห็นได้ของข้อมูล, กระบวนการคิดเป็นไปได้อย่างสั้นมาก จนเหลือเพียงช่องของ "การตัดสิน, การตัดสินใจ" (judge, short decision) เช่น ชอบหรือไม่ชอบ รักหรือเกลียด จำหรือไม่จำ จะใช้อารมณ์ตัวไหน กลัวหรือโกรธ ฯลฯ
- - -
การจะบอกว่าใครสมาธิสั้น/ยาว จึงไม่ใช่เรื่องฟันธงได้เสมอไป เพราะไปเกี่ยวกับ "อัตตลักษณ์" หรืออัตตา อุปาทาน ซึ่งเป็นจักรวาลเฉพาะบุคคล และถูกสร้างเมื่อสันโดษมากกว่าเมื่ออยู่ในสถานการณ์


  • สถานการณ์ มีไว้กลายเป็นความทรงจำระยะต่าง ๆ
  • ส่วนสันโดษนั้น มีไว้ทำแผนที่หรือ Mapping


และโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนหาช่วงสันโดษให้ตนเองได้เสมอ ไม่อย่างนั้นจะไม่มีใครเลยที่มี "บุคลิกภาพที่ดูเป็นตัวของตัวเอง" อยู่

Comments

Popular posts from this blog

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ