The Face of "ECONOMICS"



"ใต้หน้ากากเศรษฐศาสตร์"..

จริง ๆ แล้วมันก็ยังตั้งอยู่บนความเป็นจริงที่ว่า
1.มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต อาหารเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด
2.แต่ไม่ใช่ว่าผืนดินทุกจุดบนโลก มันจะปลูกอะไรขึ้นได้เท่าเทียมกันหมด
3.อาณาจักรที่ทุกวันนี้ต้องอาศัยอยู่ในแถบที่ดินที่ไม่สามารถปลูกอะไรได้ง่าย หรือปลูกได้แค่ช่วงเวลาสั้นมากในรอบหนึ่งปี ถ้าไม่ทำสงครามชิงดินแดนที่เพาะปลูกได้ดีกว่า (แบบสมัยบรรพกาล) ก็ได้แต่นับเวลาไปสู่การล่มสลาย
. . .
เราก็เลยยังคงทำเหมือน ๆ บรรพชนของโลกในยุคนึงเริ่มต้นไว้ คือ "ลูกปัดแลกดินแดน"
คือการสร้างสิ่งที่อาณาจักรของตนไม่สามารถสร้างได้ด้วยกระบวนการทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เพราะดินในพื้นที่ของอาณาจักรตัวเองไม่สามารถเพาะปลูกได้ทั้งปีหรือแทบไม่ได้เลย ไปขอแลกดินหรือที่ดินของอาณาจักรอื่น

ใช้คำว่าอาณาจักรก็จริง แต่ในสมัยที่ย้อนไปไกลมาก ๆ นั้น จำนวนประชากรมักจะอยู่ในระดับ "ชนเผ่า" นั่นเอง การแลกเปลี่ยนลักษณะนี้จึงไม่ได้ตัดสินใจยากเกินไปเมื่อมีใครมาตั้งข้อเสนอ
. . .
ระดับที่ความต้องการรุนแรงขึ้น อาจต้องยอมสูญเสียเผ่าของตัวเอง กลืนเป็นประชากรของอีกเผ่าหนึ่งซึ่งถือสิทธิเหนืออาณาเขตเอาไว้ ลักษณะนี้คือแบบที่นำมาสู่ยุคสมัยของสงคราม บ้างก็ทำเพื่อปกป้องพื้นที่ตัวเอง บ้างก็ทำเพื่อยึดครองพื้นที่เผ่าอื่น, การประดิษฐ์ "พระเจ้า/เทพเจ้า" ก็เริ่มต้นขึ้น เพื่อบอกว่าเผ่าของตนมีสิทธิเพราะอะไร ซึ่งกลายเป็นเทรนด์ของโลกโบราณ (แนวคิดนี้ให้ข้อดีมากกว่าเสีย ทุกวันนี้จึงยังมีการยอมรับและมีผู้คนจำนวนมากนับถืออยู่)
. . .
เมื่อยุคสมัยเทรนด์สงครามต้องชะลอลง (ยังไม่เคยจบนะครับ) หลายอาณาจกัรทำสนธิสัญญาที่จะไม่รุกรานกันและกันอีก ยอมอาศัยอยู่แต่ในดินแดนที่เพาะปลูกยากมากของตน แต่อาหารก็ยังคงเป็นปัจจัยลำดับที่หนึ่งเสมอ
. . .
"ลูกปัดแลกอาหาร" ก็คืออะไรที่เราทำกันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง ในระดับประชากรและความคิด (ทัศนคติ, โลกทัศน์, กระบวนทรรศน์) ก็คือการ "ทำอาชีพ/ประกอบอาชีพ/ทำงาน/หน้าที่การงาน" ..เราจึงมีการ "คิดค้นอาชีพที่สร้างอะไรที่ไม่ใช่การเพาะปลูก" เกิดขึ้นมากมาย

/ / / ซึ่งอันที่จริงแล้วการตัดสินใจจะทำหรือไม่ทำอาชีพเหล่านี้ของใคร ควรดูจากที่ดินบ้านตัวเองเป็นหลักนะครับ ว่าเพาะปลูกได้หรือไม่? เพาะปลูกอาหารชนิดไหนได้? ถ้าได้ก็ควรทำเกษตรกรรมนั่นแหละ, อาณาจักรต้องพึ่งคุณครับ / / / ← ทุกวันนี้ (ในไทย) มีนายทุนที่ตอนแรกเราคิดว่าเค้าทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่กสิกรรม/เกษตรกรรม/ปศุสัตว์สาขาใดเลย ได้เป็นเจ้าของที่ดินมากมาย และทุกวันนี้ชัดเจนว่า "เขาทำมันจริง ๆ จัง ๆ", โดยที่เจ้าของพื้นดินดั้งเดิมมีจำนวนมากที่หลุดกรรมสิทธิ์ให้เขาไปแล้ว และต้องทำอาชีพเสมือนว่าอาหารทั้งหมดที่สร้างขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร และต้องขายเพื่อหาเงินมาซื้ออาหารจากนายทุนลักษณะนี้อีกทอดหนึ่ง (หรือหลายทอด)
. . .
ประชากรที่ ที่ดินบ้านตัวเองไม่สามารถเพาะปลูกได้ (ทั่วโลก, ไม่ว่าจะเพาะปลูกไม่ได้โดยตัวดินเอง หรือเพาะปลูกได้แต่ทำให้เข้าใจว่าต้องไปทำงานอย่างอื่น) ล้วนแต่ต้องทำอาชีพหรืองานที่ "เสมือนเป็นการสร้างลูกปัดของตัวเอง" เอาไว้แลกสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการในการดำรงชีวิต

ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เราอยู่ใน "ระบบเงินตรา, ซึ่งเป็น ลูกปัดซ้อนลูกปัด" อีกชั้นหนึ่ง

คือเราต้องทำงาน "สร้างลูกปัด ไปแลกเงิน" แล้วนำเงินไปแลก (ซื้อ) "ลูกปัดอื่น ๆ" ที่ "คนอื่น ๆ สร้างขึ้นตามทักษะของเขา", ซึ่งมีทั้งลูกปัดที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร

ที่ดินก็กลายมาเป็นลูกปัดชนิดหนึ่ง ที่เงินสามารถแลก (ซื้อ) ได้
. . .
เรายังคงทำเหมือนบรรพชนของโลกนั่นเอง

เราเอาลูกปัดของเราไปแลกสิ่งที่เราไม่ใช่เจ้าของแต่เราจำเป็นต้องใช้มัน
. . .
ถ้ามองในแง่ "ห่วงโซ่", ข้อโซ่หรือห่วงที่ใหญ่ที่สุด ของโซ่ทั้งเส้นที่เรียกว่า "มนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิต" ก็คือ "อาหาร".
. . .
และคนหรืออาณาจักรที่มีอาหารเป็นลูกปัดส่งออก ในอนาคตจะมีน้ำหนักต่อโลกมาก เพราะจำนวนประชากรมนุษย์นั้นมากกว่าสมัยโบราณหลายเท่า

เรากำลังไปสู่จุดที่ ไม่มีอาชีพไหนสามารถหยุดทำได้ ทุกคนจำเป็นต้องสร้างลูกปัดของตัวเองให้เป็น ให้เก่ง ให้คล่อง

ไม่ใช่แค่สร้าง "แต่ต้องคิดค้นลูกปัดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน" (เราเรียกว่า "นวัตกรรม/ความคิดสร้างสรรค์/เศรษฐกิจสร้างสรรค์")

/ / / / / / / เพราะลูกปัดชนิดใหม่นั้นจะมีมูลค่าอยู่ได้ไม่นานอีกแล้ว เพราะจำนวนประชากรที่มากขึ้น หมายความอย่างตรงไปตรงมาถึง "มันจะถูกทำตามในระยะเวลาที่สั้นขึ้นมาก" ลูกปัดนั้นจะถูกสร้างตามแบบที่เราคิดค้นไว้ออกมาอย่างเกลื่อนกลาด เต็มตลาด และทำให้มูลค่าตกลง เพราะทุกคนสร้างมันได้ มีมันได้ ทั้งที่ตอนแรกเราเท่านั้นที่สร้างได้มีได้ / / / / / / /
. . .
การที่พูดกันว่า "เราก็เลยจำเป็นต้องมีนักคิดสร้างสรรค์" หรือความคิดสร้างสรรค์จะต้องเป็นทักษะในคนเรา จึงเป็นสิ่งที่มีนัยยะและมีน้ำหนักอย่างยิ่งใหญ่

แต่เราทั้งโลก ห้ามเลิกสนับสนุน "ผู้สร้างลูกปัดอาหารทั้งปวง" โดยเด็ดขาด ต้องให้มีอยู่ด้วยความแข็งแกร่ง

/ / / / / / / เพราะเวลานี้สงครามที่มีอยู่บนบางพื้นที่ดิน ไม่ใช่แย่งชิงอาหารโดยตรง แต่เป็นการแย่งชิง "พลังงาน", ด้วยว่าพลังงานนั้นเอาไว้ใช้สร้างลูกปัดแห่งความมั่งคั่งได้อย่างมหาศาล และประเด็นสำคัญก็คืออาหารนั่นเอง อาหารเป็นหนึ่งในลูกปัดแห่งการสร้างทั้งปวงนั้นด้วยไงครับ, การถือครองพลังงาน จึงเท่ากับครองโลกทั้งหมด เพราะไม่มีงานชนิดใดเลยที่ไม่ใช่พลังงาน..เพื่อทุ่นแรงและลดเวลาการทำงานให้สามารถสร้างลูกปัดได้เร็วที่สุด / / / / / / /.

- - - - - - - - - - - -
Copyright 2016 vnatat.com All Rights Reserved. สำหรับผู้ต้องการเผยแพร่ซ้ำ: ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ซ้ำหรือแชร์ในลักษณะที่เป็นและเสมือนกิจการ/กิจกรรมทางพาณิชย์ตั้งแต่เจ้าของคนเดียวขึ้นไปในรูปแบบ หรือฟอร์แมต หรือแพลตฟอร์มใด ๆ โดยไม่ได้ขออนุญาตทั้งสิ้น (ความหมายคือ สามารถทำซ้ำหรือแชร์บทความนี้หากผู้เผยแพร่ประสงค์ให้สาธารณะชนอ่านได้ฟรีโดยผู้เผยแพร่ซ้ำนั้นต้องไม่มีการรับรายได้จากการเผยแพร่บทความนี้ในทางใดหรือจากใคร, หากผู้เผยแพร่ซ้ำต้องการนำบทความนี้ไปก่อให้เกิดรายได้ สามารถขออนุญาตหรือติดต่อทำสัญญาข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับเจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อกระทำการได้)

Comments

Popular posts from this blog

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ

สมาธิตื้น สมาธิลึก