วิถีเชิงเทคนิคของการศึกษา
แนวคิดที่ต้องทำความเข้าใจและเป็นระดับกระบวนทรรศน์ คือ Multi-Discipinary (ขอขึ้นด้วยตัวใหญ่ทั้งสองคำ เพราะสำคัญให้ต้องสังเกตทั้งคู่)
- - -
การเรียนแบบอนุรักษ์นิยมหรือ "สาระ, กลุ่มสาระ" คือ each (single) subject/diciplinary ..มองแต่ละวิชาเป็น disciplinary เดี่ยว ๆ เช่น เรียนเลขก็คือเลข
. . .
ส่วนแบบ "กลุ่มประสบการณ์" (หรือให้เข้าใจง่าย ๆ คือมองเป็น PBL ไว้ก่อน) จะเอาตัวประสบการณ์/หัวข้อ/เรื่อง/โครงงาน (แล้วแต่จะเรียกนะครับ) นั้น ๆ เป็น substance/matter/container (คำหลังนี้ขอใช้เองตรงนี้เลย เพราะมันแกะ/แงะ/กระเทาะเอาอะไร ๆ ข้างในออกมาได้ เพื่ออธิบายออกตามรายสาระหรือรายวิชา categorized ของอารยธรรมดาวเคราะห์ในยุคนั้น ๆ, ของยุคนี้พวกรายวิชา สาขา แขนง ก็อย่างรู้จัก ๆ กันครับ เอาพวกนี้ไป mapping กับอะไรที่กระเทาะออกมาได้จาก container)
. . .
ทั้งสองแบบ จริง ๆ สามารถเอาส่วนหัวจับมาตั้งไว้ก่อนได้ ในฐานะ container..แล้วค่อยกระเทาะเจ้า container นั้นออกมาเพื่อ analyze/synthesize/criticize/investigate/scrutinize/examine/exploration/explanation/elaboration/IMPROVISATION (เท่านี้ก่อน คำมันมีให้เลือกเยอะครับ, สารพัดคำที่ยกมานี้ ผมถือว่าเป็นทัศน์ทางเทคนิคของการ mapping ปะติดปะต่อองค์ความรู้เข้าด้วยกัน)
- - -
ซึ่งทั้งหมด หรือการศึกษาของมนุษย์นั้นทำไปเพื่อ "DISCOVERED" (ค้นพบ) ทั้งแง่มุมที่มัน yes ที่มัน plain ที่มัน no (คือการพาตัวเองไปเจอ plain เจอ no ไม่ได้แปลว่าเราไม่ได้ค้นพบอะไรไงครับ แต่เราค้นพบว่ามัน plain ว่ามัน no เฉย ๆ พอ ๆ กับซักหนไหนที่ไปเจอว่ามัน yes นั่นแหละ, อาการ "ยังไม่ได้ผล" จึงเป็นเครื่องมือทางทัศนะอย่างหนึ่งของการศึกษา-ค้นพบ) (อย่าแปลหรือตีความคำว่า "ยังไม่ได้ผล" ไปในทางคำว่า 'ล้มเหลว' ←..เนื่องจากคำนี้มีนัยความหมายในทางสังคมเป็นอีกอย่างที่ทราบกันดีครับ, เปลี่ยนคำที่ใช้พูดกันดีกว่า)
- - -
การ PLAYING ในเด็กเล็ก มันคือ EXPLORE ครับ, แนวคิดการศึกษาที่สนับสนุนการเล่น จะตั้งอยู่บนคีย์ความเข้าใจนี้, เพราะงั้นในแต่ละวันที่เด็ก ๆ ไป explore แล้วเค้า discovered เจอนั่น เจอนี่ (journal, journey) อะไรมา เดี๋ยวเค้าก็มาเล่าให้ฟังเองครับ
Comments
Post a Comment
การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)