ตั้งค่า Public คือสิทธิ์แบบไหน และทำไมต้อง 1:1



1 ต่อ 1 เท่านั้นครับ เข้าถึงเนื้อหาผ่านหน้าจอหรืออุปกรณ์ส่วนบุคคล โดยผู้ถือมีกรรมสิทธิ์ในตัวอุปกรณ์นั้นโดยตรง เป็นการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของอุปกรณ์ เช่น เยาวชนอายุไม่ถึง 13 ปี ลูก หลาน เพื่อน ญาติ บุคคลในครอบครัว และสาธารณชน เนื่องจากบางที่ตั้งของเนื้อหาอาจมีกลไกเชื่อมโยงโดยที่สามารถนำเข้าเนื้อหา ของบุคคลอื่น (บุคคลที่สาม) ที่มีความไม่เหมาะสมมาแสดงผลในอุปกรณ์ได้

เรื่องระดับอายุเยาวชนที่ 13 ปีนั้น มีที่มาทางกฎหมายจากข้อกำหนดทางสิทธิในการใช้งาน "ออนไลน์แอคเคาท์" ในหลายประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) มาจากการที่ธรรมชาติของเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ มักประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ส่วน

1.ตัวอักษร
2.ภาพถ่าย
3.ภาพกราฟิก
4.ตัวเล่นข้อมูลเสียง
5.ตัวเล่นข้อมูลภาพเคลื่อนไหว/มีและไม่มีเสียง


ซึ่งอาจมีเนื้อหาหรือทิศทางของเนื้อหาและเจตจำนงที่ไม่เหมาะสม ปลุกระดม กระตุ้นให้เกิดการซื้อโดยขาดวิจารณญาณ สิทธิ์ในการทำธุรกรรม การสื่อสารถึงบุคคลอื่น อาชญากรรม ฯลฯ ซึ่งภาพรวมมีความซับซ้อนซึ่งอาจเป็นภัยต่อเยาวชน ระดับอายุที่มีการอนุญาตให้เริ่มต้นใช้งานออนไลน์แอคเคาท์ได้ จึงประมาณไว้ที่ 13 ปี (ที่วางใจกันว่ามีปฏิภาณที่จะปกป้องตัวเองจากข้อมูลลักษณะชี้ชวนหรือ โน้มน้าวจูงใจให้ตัดสินใจหรือกระทำสิ่งไม่เหมาะสมได้)

เทคนิคทางการเผยแพร่ซ้ำตามสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์มอบให้ตามพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ มาตรา ๑๕ (๕) นั้น มีเพียง 2 เทคนิคดังกล่าว ซึ่งเราจะพบว่าเป็นฟังค์ชั่นในระบบเว็บไซต์และแอปของโซเชียลมีเดียทั่วไป นี่คือการที่ผู้ให้บริการนั้นยอมรับข้อกฎหมายจึงมีผลในการออกแบบระบบครับ

อีกทั้งธรรมชาติของการใช้ออนไลน์แอคเคาท์นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะของใครของมัน คือผู้ใช้ต้องถือกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์นั้นจริง

ซึ่งในทางแนวคิดนั้นมาจาก แนวโน้มด้านกลไกการรักษาความปลอดภัย 3 บริบท คือ

1.What you know? - สิ่งที่เราเท่านั้นที่รู้ เช่น ข้อมูลยูสเซอร์เนม พาสเวิร์ด หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมลและพาสเวิร์ด หรือข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลนามธรรมจับต้องไม่ได้ (non-physical) และ/หรือสามารถหมายถึงนิยามแบบ ความเป็น DATA

2.What you have? - สิ่งที่เราเท่านั้นที่มีถือครองเป็นกรรมสิทธิ์โดยตรง เช่น โทรศัพท์ อุปกรณ์พกพาอื่น คอมพิวเตอร์ ที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดนั้นอยู่กับเราจริง เช่นการให้รับ sms ที่ส่งรหัสยืนยันความปลอดภัยเข้ามาที่สมาร์ทโฟนที่เป็นหมายเลขโทรศัพท์ของ เราจริง เพราะเครื่องจะต้องอยู่ในมือถึงจะได้รับข้อความนั้น เห็นจริงและกรอกข้อมูลที่ได้รับนั้นกลับสู่เว็บไซต์ผู้ให้บริการออนไลน์แอ คเคาท์ต่าง ๆ ได้, คนอื่นที่ไม่มี "ของของเรา" ย่อมปลอมแปลงไม่ได้

3.What you are? อวัยวะร่างกายของเราเท่านั้นโดยตรง เช่น การสแกนม่านตา ลายนิ้วมือ ฯลฯ ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถแทนกันละกันได้ จึงเป็นการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด

และทั้ง 3 ประการ เป็นการยืนยันได้ว่า ผู้ที่รับสาส์นที่เผยแพร่นั้น เป็นบุคคลคนนั้นจริง ๆ.

นี่คือสิ่งที่ผู้ให้บริการแอคเคาท์ออนไลน์จำเป็นต้องควบคุมสมาชิกให้ได้ครับ เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่ถือแอคเคาท์ออนไลน์ เมื่อคุณสมัครหรือเปิดแอคเคาท์เท่ากับจะต้องปฏิบัติตาม เพราะมีผลทางกฎหมายทันที., ไม่ได้บังคับคุณ แต่คุณจะสมัครใจทำตามเงื่อนไขนี้เพื่อปกป้องผู้อื่นครับ ..ผู้อื่นที่อาจได้รับข้อมูลไม่เหมาะสมหรือทำร้าย-ทำลายตัวเขาได้ ทั้งจิตใจ สถานะทางสังคม และอาจถึงชีวิต (เช่นปกป้องเขาจากข่าวสารที่อันตราย หรือข้อความเกลียดชังรุนแรงต่าง ๆ ฯลฯ) โดยเฉพาะการช่วยกันทุกคนในการร่วมกันปกป้องเยาวชนของโลก

เรื่องนี้ในใจความ จึงสำคัญเสียยิ่งกว่าการถกเถียงกันเรื่องเผยแพร่ซ้ำได้หรือไม่ เก็บเงินใครหรือไม่ หรือเรื่องเนื้อหาอันมีลิขสิทธิ์นั้น ๆ ด้วยซ้ำครับ

 เพราะไม่ใช่ว่าประเด็นไปตกเรื่องว่าเนื้อหานั้นมีลิขสิทธิ์, แต่เกี่ยวกับว่า เนื้อหานั้น "มันเป็นอันตรายกับเรา หรือกับคนอื่น หรือกับเยาวชนได้หรือไม่?" ..ซึ่งจุดนี้ร้ายแรงกว่าครับ

 นี่เป็นเหตุของผลที่ว่า.. "ทำไมต้อง 1 ต่อ 1?" ครับ.

Comments

Popular posts from this blog

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ

สมาธิตื้น สมาธิลึก